“บิ๊กโต้ง” รอง ผบช.ภาค 6 เปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีตำรวจภูธรภาค 6

               ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ท.กิติศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ ผบช.ภ.6  มอบหมายให้ พล.ต.ต.ณัฐวุฒิ ภาคภูมิ รอง ผบช.ภ.6  เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีตำรวจภูธรภาค 6  โดยมี พล.ต.ต.จิตติพนธ์ ผลพฤกษา ผบก.สืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 4 , พล.ต.ต.สมนึก มากมี  ผบก.กค.ภ.6 , พ.ต.อ.ไพโรจน์ หมื่นกล้าหาญรอง ผบก.ตรวจสอบ และวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท. , พ.ต.อ.สนธยา บัวแพง รอง ผบก.สอท.4 , พ.ต.อ.ชลิต วิริยะไกร รอง ผบก.ภ.จว.กำแพงเพชร , พ.ต.อ.ศิริพงศ์ ศรีทันฐ์ รอง ผบก.ภ.จว.ตาก , พ.ต.อ.นิติศักดิ์ แก้วอ้น รอง ผบก.ภ.จว.นครสวรรค์ , พ.ต.อ.สถาพร ศรีภิรมย์รอง ผบก.ภ.จว.พิจิตร ,พ.ต.อ.ทรงพล สังข์เกษม รอง ผบก.ภ.จว.พิษณุโลก , พ.ต.อ.ฐิติภัทร อินทรรักษ์ รอง ผบก.ภ.จว.เพชรบูรณ์ , พ.ต.อ.ชูศักดิ์ วัฒนโยธิน รอง ผบก.ภ.จว.สุโขทัย , พ.ต.อ.พฤกษ์ เลี้ยงสุข รอง ผบก.ภ.จว.อุทัยธานี , พ.ต.อ.พงษ์อาจ ล้ำตระกูล รอง ผบก.สส.ภ.6  , พ.ต.อ.ธำรง จิกิตศิลปิน รอง ผบก.กค.ภ.6 , พ.ต.อ.ชาติชาย ขอบทางศิลป์ รอง ผบก.กค.ภ.6 และ ผู้เข้าร่วมการอบรมฯ ณ โรงแรมท็อปแลนด์ ห้องคอนเวนชั่น 1 จว.พิษณุโลก

               พล.ต.ต.ณัฐวุฒิ ภาคภูมิ รอง ผบช.ภ.6 กล่าววว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้กำหนดยุทศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580 ) ยุทธศาสตร์ที่ 2 เรื่องการเพิ่มศักยภาพในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาและการให้บริการประชาชนอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม ข้อ 2.1.5 มุ่งเน้นให้มีการเสริมสร้างประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการดำเนินคดี รวมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกประเทศในด้านอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เนื่องจากสภาพปัญหาการขยายตัวของอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศในโลกยุคดิจิทัล ทำให้คดีอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทั้งคดีที่ส่งผลต่อความเดือดร้อนของประชาชนโดยตรงและคดีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศและได้ตระหนักถึงความปลอดภัยทางไซเบอร์และสารสนเทศว่าเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการขับเคลื่อนธุรกิจและองค์กรให้มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมดิจิทัส(Transformation) ทำให้ประชาชนต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากภัยคุมคามทางไซเบอร์ (Cyber Threats)ที่มากขึ้น การรักษาความมั่นปลอดภัยต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ จึงมีบทบาทที่สำคัญต่อองค์การเป็นอย่างมาก   ปัจจุบันคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีมีหลายรูปแบบ เช่น การหลอกลวงออนไลน์ทางด้านการเงิน จำหน่ายสิ่งของผิดกฎหมาย หรือ หลอกลวงจำหน่ายสินค้าออนไลน์ การเผยแพร่ข่าวปลอม การพนันออนไลน์ อาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น มีปริมาณมากขึ้น ทำให้เกิดความเสียหายและความเดือดร้อนแก่ประชาชนเป็นจำนวนมาก

               สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้จัดทำระบบการรับแจ้งความคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ผ่านเว็บไซต์ thaipoliceonline.com เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่ได้รับความเสียหาย สามารถแจ้งความผ่านคอมพิวเตอร์ หรือ  โทรศัพท์ สมาร์ทผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ดได้ ซึ่งระบบการรับแจ้งความออนไลน์ดังกล่าวได้มีการใช้งานมาระยะหนึ่งแล้วพบว่ายังมีปัญหาอุปสรรคและไม่เข้าใจวิธีปฏิบัติในการรับแจ้งความออนไลน์ ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการ ประกอบกับระบบรับแจ้งความออนไลน์คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้มีการพัฒนา ปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ดังนั้น ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทศโนโลยีสารสนเทศ ตำรวจภูธรภาค 6 จึงได้จัดทำโครงการอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน พนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษในคดีเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถคำเนินดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

               ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริหารการรับแจ้ง (Admin) และ ผู้บริหารคดี (Case Manager) มีความรู้ความเข้าใจและวิธีการใช้งานระบบบริหารจัดการคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (Case Management) เพื่อให้สามารถรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคดี รายละเอียดและพฤติกรรมการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีจากระบบบริหารจัดการคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (Case Managernent) เพื่อพิจารณามอบหมาย เจ้าหน้าที่ฝ้ายสืบสวน และพนักงานสอบสวน รับผิดชอบเรื่องที่ได้รับแจ้ง เพื่อสามารถตรวจสอบ วิเคราะห์รายละเอียดของคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสรุปมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นและพิจารณาว่าสามารถดำเนินการได้ภายในขอบเขตของอำนาจหน้าที่หรือไม่ เพื่อเสนอมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบเพื่อให้ข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานสืบสวน มีความรู้ความเข้าใจในการลงค่า entityและเนื้อหาการรายงานสืบสวนให้ครบทุกองค์ประกอบ (5W1H) เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์เชิงคุณภาพ ตลอดจนให้ข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานสืบสวน เพิ่มขีดความสามารถในการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคนร้ายจากแหล่งข่าวเปิด (OSINT) และนำคำมาเพิ่มใน entity หรือบันทึกไฟล์เอกสารในบันทึกการสืบสวน เพื่อให้พนักงานสอบสวนสามารถนำไปใช้ในสำนวนการสอบสวน อีกทั้งเพื่อให้ข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานสืบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สามารถนำค่าentity จากการที่ระบบเชื่อมโยงให้อัตโนมัติ นำมาทำการเชื่อมโยงด้วยโปรแกรมอื่นๆ เช่น 2 มาเพิ่มมิติและเครือข่าย เพื่อเติมเต็มและเสริมประสิทธิภาทในการวิเคราะห์  เพื่อให้พนักงานสอบสวนในคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สามารถบริหารคดีในกลุ่มที่มีความเชื่อมโยง ตัวคนร้าย/กลุ่มคนร้ายเดียวกัน (มัดก้อน) และ กลุ่มคนร้ายที่กระทำผิดหลายประเภทความผิด. 

Related posts