ZPOT จัดประชุมประชาสัมพันธ์และรับฟังความเห็นโครงการก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่ ระยะที่ 1 คลองหก

               เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดประชุมประชาสัมพันธ์และรับฟังความเห็นโครงการก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่ ระยะที่ 1 คลองหก ณ ห้องประชุมสงค์ธนาพิทักษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยนายอรรถพร ศรีเหรัญ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าววัตถุประสงค์สำหรับการจัดงานในครั้งนี้เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลโครงการสวนสัตว์แห่งใหม่ระยะที่ 1 คลองหก เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและลดผลกระทบจากโครงการก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 หน่วยงานได้แก่หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณูปโภค และการขนส่ง

               ในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายสุชาติ คงสำเร็จ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานการประชุมในครั้งนี้

               องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับพระราชทานที่ดินบริเวณคลองหก ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน ๓๐๐ ไร่ เพื่อใช้ประโยชน์เป็นสถานที่ก่อสร้างสวนสัตว์ใหม่ และสถานที่ทำงานฯ จากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ต่อมาองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยได้รับการจัดสรรงประมาณ จำนวนเงิน 5,354,000,000บาท (ห้าพันสามร้อยห้าสิบสี่ล้านบาท) เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการสวนสัตว์แห่งใหม่ ระยะที่ 1 คลองหก โดยมีแนวคิดจัดทำเป็นสวนสัตว์ที่ทันสมัยระดับนานาชาชาติ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ในระดับสากล เป็นแหล่งเรียนรู้ชีวิตสัตว์ป่าทั้งในและนอกถิ่นอาศัย ระบบภูมินิเวศทางธรรมชาติที่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ ศึกษาและวิจัย เพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ รวมถึงประโยชน์แก่สังคมโดยรวม และเป็นแหล่งนันทนาการที่รองรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อม สื่อถึงการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ และศาสตร์พระราชา แนวคิดทันสมัย แทนไทย เป็นโครงการสวนสัตว์สีเขียว Green Zoo โดยมุ่งการฟื้นคืนของรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและธรรมชาติ “ทุ่งหลวงรังสิต” ในการดำเนินโครงการได้กำหนดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ต้องการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการ รับทราบข้อมูล เพื่อประโยชน์สูงสุด และมีผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด

               โดยครั้งนี้ มีตัวแทนหน่วยงานประกอบด้วยประชาชนที่อาศัยในพื้นที่โครงการ ,กลุ่มผู้นำชุมชนในพื้นที่ 4 อำเภอ, หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงาน,ผู้ทำหน้าที่พิจารณาพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมEIA,หน่วยงานราชการต่างๆ, รัฐวิสาหกิจองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม, องค์กรพัฒนาเอกชนและสถาบันการการศึกษาภายในท้องถิ่นและสื่อมวลชน โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วม มากกว่าจำนวน 210 คน

Related posts