เนื่องจากในช่วงต้นรัชกาลที่ 9 เกิดโรคเรื้อนระบาด ซึ่งผู้ป่วยโรคเรื้อนเป็นที่รังเกียจของสังคม ดังนั้นจึงเกิดพระราชโครงการในพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 เปลี่ยนชีวิตให้ผู้ป่วยโรคเรื้อน โดยทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สร้างตึกหลังแรกเพื่อเรียนรู้รักษาผู้ป่วยโรคเรื้อน พร้อมทั้งจัดหาที่อยู่อาศัยผู้ป่วยโรคเรื้อน
วันที่ฟ้าเปิดแสงทองส่อง วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2501ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค และเสด็จจากเรือพระที่นั่ง มายังสะพานท่าเสด็จ เพื่อประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ตึกหลังแรกที่สถานพยาบาลพระประแดง โดยเมื่อปี พ.ศ.2503 พระองค์ทรงเสด็จประกอบพิธีเปิดตึกหลังแรก ซึ่งพระองค์ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “สถาบันราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์”
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงอธิบายความหมายว่า พระราชและประชาชนย่อมพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยตึกหลังแรกที่พระองค์สร้างเพื่อให้นักเรียนแพทย์ได้ศึกษาเกี่ยวกับการรักษาโรคเรื้อน ทำให้สามารถระงับยับยั้งไม่ให้โรคเรื้อนเข้าสังคม
ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ทางชมรมจิตอาสาเพื่อนช่วยเพื่อน(ตามรอยพ่อ)สถาบันราชประชาสมาสัย และเหล่าผู้ป่วยตอนที่พ่อหลวงสวรรคต จึงได้ร่วมกันสร้างสะพานแห่งนี้ที่พ่อหลวงก้าวฝ่าพระบาทเข้ามาครั้งแรกเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานไว้ให้ลูกหลานได้รู้ที่พ่อหลวงได้เข้ามาสะพานแห่งนี้ทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อนมีชีวิตใหม่ทำให้เข้าสังคมได้ ทางลูกหลานชุมชน ไม่ลืมและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ช่วยเหลือ เช่น การรักษา สร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียน ให้ลูกหลานได้เล่าเรียนจนทุกวันนี้.. “เพราะมีวันนั้น จึงมีวันนี้”..ลูกหลานที่ได้รับความเมตตาพระมหากรุณาธิคุณของพ่อหลวง จึงขอบวชเป็นพระราชกุศล ถวาย ร.9
สำหรับการบวชเพื่อเป็นพระราชกุศล ถวาย ร.9 ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากบุคคลต่างๆในการจัดงาน ได้แก่ นายแพทย์เอนก มุ่งอ้อมกลาง เป็นประธานเปิดงาน และผู้อำนวยการสถาบันราชประชาสมาสัย / นายประเทือง แซ่เอี๊ย ประธานจัดงาน และประธานชมรม เพื่อนช่วยเพื่อนตามรอยพ่อ /นายยุทธชัย กังวานสิทธิ์ ประธานชุมชนปู่เจ้า