สภาสื่อมวลชนไทย (องค์กรเครือข่ายสื่อภาคประชาชน) จัดงานมอบรางวัล “คนดีรัตนโกสินทร์” ประจำปี 2567 เพื่อยกย่องและส่งเสริมบุคคลต้นแบบที่มีคุณค่าต่อสังคมไทย โดยมี หม่อมหลวง ชาญโชติ ชมพูนุท เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2567 ที่หอประชุมใหญ่ TOT สำนักงานใหญ่ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ
วัตถุประสงค์ของการจัดงานมอบรางวัลครั้งนี้ เป็นการคัดเลือกประกาศเกียรติคุณแก่บุคคลต้นแบบที่ดีที่มีความสามารถมีประวัติการทำงานโดดเด่นในสาขาอาชีพต่างๆ
และเยาวชนไทยดีเด่นที่เป็นต้นแบบตัวอย่างที่ดีแก่สังคมเพื่อกระตุ้นให้สังคมไทยตระหนักถึงการพัฒนาคนและสังคมไทย ที่มีต่อการพัฒนา เศรษฐกิจ ธุรกิจสังคมและการเมืองของประเทศไทย รวมถึงบุคคลตันแบบที่ดีต่อการทำคุณประโยชน์ต่อ ศาสนา สังคม และประเทศชาติและทำความดี คืนคุณแผ่นดินเป็น ” คนดีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ “
หนึ่งในผู้ที่ได้รับการยกย่องคือ พ.ต.ดร.ประภาส แสงประดับ หัวหน้าแผนกภาพนิ่ง กรมการทหารสื่อสาร ที่ได้รับรางวัลบุคคลต้นแบบ “คนดีรัตนโกสินทร์” สาขาข้าราชการดีเด่น
สำหรับประวัติและผลงนของ พ.ต.ดร.ประภาส แสงประดับ :-
๑. ชื่อ พ.ต.ดร.ประภาส แสงประดับ
๒. ที่อยู่ปัจจุบัน กองการภาพ กรมการทหารสื่อสาร ๔๓ ซ.พลหโยธิน ๔๙/๒ หมู่ ๖ แขวงอนุสาวรีย์
เขตบางเขน จังหวัดกรุงเทพมหานคร ๑๐๒๒๐
โทรศัพท์ ๐๒-๙๗๒๙๐๓๕,๐๘๗-๕๐๓๔๖๕๘ แฟกซ์ ๐๒-๙๗๒๙๐๓๕
๓. อาชีพ รับราชการทหาร กรมการทหารสื่อสาร ตำแหน่ง หัวหน้าแผนกภาพนิ่ง กองการภาพ
กรมการทหารสื่อสาร, ผู้ประสานงาน ศตส.ปชช.พื้นที่ชุมชนกองการภาพ บางเขน
๔. ผลงานดีเด่นสาขา พัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อม และการต่อสู้กฎหมายของชุมชนและคนจน
๕. ประวัติส่วนตัวและการศึกษา
ประวัติส่วนตัว
เกิดวันที่ ๗ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
อายุ 51 ปี
ประวัติการศึกษา
– จบปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) สาขานิติศาสตร์
จากมหาวิทยาลัยเกริก พ.ศ. 2545
– ได้รับพระราชทานปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขายุทธศาสตร์
การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร พ.ศ.๒๕๕๐
– จบปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ม.เกริก พ.ศ.๒๕๕๕
– จบปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต ม.เกริก พ.ศ.๒๕๖๖
๕. ตำแหน่งหน้าที่ทางสังคม (ปัจจุบัน)
๕.๑ ประธานบ้านมั่นคงชุมชนบางบัว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
๕.๒ ประธานสหกรณ์/เครือข่ายพัฒนาสิ่งแวดล้อมคลองบางบัว
๕.๓ ประธานสภาองค์กรชุมชนเขตบางเขน
๕.๔ ผู้นำเครือข่ายองค์กรชุมชนเขตบางเขน
๕.๕ ผู้ประสานงานสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.)
๖. ประวัติการทำงานเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
๖.๑ ขณะที่ทำงานด้านสังคม เป็นประธานเครือข่ายพัฒนาสิ่งแวดล้อมคลองบางบัว พ.ศ. 2545
ได้ร่วมกับผู้นำและชุมชนในริมคลองบางบัวสองฝั่งคลอง 12 ชุมชน และเชื่อมโยงเครือข่ายพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมคูคลอง อีก 9 สาย คลอง เช่น คลองเปรมประชากร คลองบางเขน คลองทุ่ง คลองรังสิต คลองหัวลำโพง คลองลำนุ่น คลองโอ่งอ่าง คลองลาดพร้าว ฯ ล ฯ
ช่วยกันรักษาคูคลองในกรุงเทพฯ ด้านสิ่งแวดล้อมและด้านการเปิดเวทีปลุกชาวบ้านให้ถอยบ้าน พ้นคลอง เช่น ร่วมสร้างเรืออเนกประสงค์ รณรงค์ให้ใช้ถังดักไขมันรายครัวเรือน
ทำนํ้าหมักชีวภาพ ทอดผ้าป่าขยะ เยาวชนอนุรักษ์คูคลอง ร่วมกับมหาวิทยาลัยใน
พื้นที่ เช่น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ(พอช.) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร หน่วยงานท้องถิ่นสำนักงานเขตบางเขน สำนักระบายนํ้า และกรุงเทพมหานคร และเชื่อมโยงไปสู่ชุมชนในเขตบางเขนอีกหลายชุมชน ได้รับรางวัลด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมดีเด่นปี ๒๕๔๗
๖.๒ ขณะเป็นผู้นำเครือข่ายพัฒนาสิ่งแวดล้อมคลองบางบัว นำชุมชนในเครือข่ายฯ 12 ชุมชน เช่น
ชุมชนสามัคคีร่วมใจ ชุมชนบางบัว ชุมชนร้อยกรอง ชุมชนรุ่นใหม่พัฒนา ชุมชนร่วมใจพัฒนาใต้ฯ ร่วมสร้างเรือนไทย และวิทยาลัยพุทธศาสตและปรัชญา เพื่อให้คนในชุมชน และพระเณรในวัด ได้มีโอกาศศึกษาต่อชั้นปริญญาตรีและเป็นพิพิทธภัณฑ์ โดยกับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และวัดพระศรี ประจำปี 49 จนได้รับเชิญเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร /สภากิจการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
๖.๙ ได้นำชุมชนในเครือข่ายพัฒนาสิ่งแวดล้อมคลองบางบัว 12 ชุมชน ร่วมจัดงาน ถวายเทียนพรรษา กับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สภาวัฒนธรรมเขตบางเขน สำนักงานเขตบางเขน ประจำทุกปี
๖.๑๐ เป็นผู้แทนชุมชนเข้าร่วมเครือข่ายวิทยุเพื่อการศึกษา กับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
๖.๑๑ เป็นวิทยากรผู้แทนเครือข่ายพัฒนาสิ่งแวดล้อมคลองบางบัว นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครมาศึกษาดูงานด้านสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาชุมชน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างอาจารย์ นักศึกษา ประชาชนในชุมชน
๖.๑๒ ขณะที่ทำงานเป็นประธานเครือข่ายพัฒนาสิ่งแวดล้อมคลองบางบัว และเป็นประธานสหกรณ์ เคหสถานเพื่อที่อยู่อาศัยคลองบางบัว จำกัด ได้เชื่อมโยงพี่น้อง 16 ชุมชนไป เจรจาพูดคุยกับ หน่วยงานที่ดิน คือ กรมธนารักษ์ สำนักระบายนํ้า สำนักงานเขตบางเขน การไฟฟ้านครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค คณะสถาปัตยกรรมมหาวิทยาลัยศรีปทุม สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ (พอช.) กรุงเทพมหานคร มูลนิธิชุมชนไทย เพื่อให้เกิดการตั้งคณะกรรมการเมือง ที่หลายฝ่าย เกี่ยวข้องกับชุมชนเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และที่อยู่อาศัยที่ไม่มั่นคง เนื่องจากพยายามไป ติดต่อหลายที่ยังไม่ได้รับคำตอบ หรือการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุดเพราะบทบาทหน้าที่ของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงเกิดการผลักดันร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นคือสำนักงานเขตบางเขน แต่งตั้งคณะกรรมการเมืองโดยมีทุกหน่วยงานและตัวแทนชุมชนๆ ละ 3 คน เป็นณะกรรมการ มีท่านผู้อำนวยการเขตเป็นประธานในการประชุม มีการประชุมหนุนเสริมซึ่งกันและกันทุกเดือน จนได้รับรางวัลโลห์ด้านคณะกรรมการเมืองดีเด่น ปี ๒๕๔๘ จาก องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น)
๖.๑๓ ขณะที่เป็นประธานสหกรณ์เคหสถานเพื่อที่อยู่อาศัยคลองบางบัว และเครือข่ายพัฒนาสิ่งแวดล้อมคลองบางบัว ได้รับการแต่งตั้งในนามชุมชนต้นแบบในการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดของกรุงเทพมหานคร แต่งตั้งโดยท่านผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายอภิรักษ์โกษยโยธิน เป็นคณะกรรมการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด เมื่อปี ๒๕๔๘ จึงได้เชื่อมโยงพี่น้องชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร ผลักดันให้กรุงเทพมหานคร และรัฐบาลเปิดนโยบายให้หนุนเสริมงบประมาณ และสามารถเช่าที่ดินรัฐในระยะยาว 30 ปี เพื่อให้ชุมชนแออัดลุกขึ้นมาพัฒนาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมให้มีความมั่นคง โดยรัฐบาลหนุนเสริมงบประมาณโครงการบ้านมั่นคง 800 ล้านบาท ในปี 48 และเพิ่มเติมอีก 1,700 ล้านบาทในปี 49 และกองทุน 6,000 ล้านในปี 53 และกรุงเทพมหานครช่วงเกิดวิกฤตนํ้าท่วมชวนพี่น้องผู้นำชุมชนริมคลองทั่วกรุงเทพผลักดันการแก้ปัญหานํ้าท่วม ทำให้รุงเทพมหานครหนุนเสริมงบประมาณ อีก 30 ล้านบาท ผ่านองค์กรที่พี่น้องชุมชนแออัดทั่วกรุงเทพมหานครได้จัดตั้งขึ้น โดยมี นายประภาส แสงประดับ เป็นผู้ประสานงาน เรียกว่า สหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชน คนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.)
๖.๑๔ ขณะที่เป็นประธานชุมชนบางบัว และประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยชุมชนบางบัว ได้สร้างกระบวนการออมทรัพย์รับฝากเงินในชุมชน เพื่อสอนให้คนในชุมชนทุกครอบครัวออมวันละ 5 บาท หรือเดือนละ 200 บาท และสำรวจข้อมูลรายครัวเรือนและข้อมูลภาพรวมชุมชน ชวนชาวบ้านทำบัญชีรายครัวเรือน เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย จนตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชนได้จากออมวันละ 5 บาท ปัจจุบันมีเงินกองทุนในธนาคารชุมชน และพัฒนาไปสู่กองทุนในที่ดินและที่อยู่อาศัยในระดับแขตบางเขน กว่า 15 ล้านบาท เพื่อเป็นกองทุนในการแก้หนี้นอกระบบ และทุนในการก่อสร้างบ้านเพื่อที่อยู่อาศัย ที่ดิน และพัฒนาสิ่งแวดล้อม และต้านยาเสพติด และยังต่อยอดไปสู่การจัดตั้งกองทุนฌาปนกิจชุมชนบางบัว และกองทุนสวัสดิการชุมชน อีกทั้งต่อยอมจากกองทุนแม่ของแผ่นดิน มีกองทุนอีกร่วม 300,000 บาท และยังเชื่อมโยงกองทุนรวมในระดับเขตบางเขน ของเครือข่ายพัฒนา สิ่งแวดล้อมคลองบางบัว มีกองทุนร่วม 19 ล้านบาท จนได้รับโล่ห์การสร้างการมีส่วนร่วมของ สมาชิกในชุมชนบางบัวดีเด่น ปี 2549 ในงาน 4 ปี บ้านมั่นคง
๖.๑๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการแก้ปัญหาความยากจนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.ปชช.) ของจังหวัดกรุงเทพมหานคร เพื่อเสนอนโยบายในการแก้ปัญหาความยากจนและเป็นปากเสียงช่องทางการนำเสนอสู่นโยบายระดับจังหวัดกรุงเทพมหานคร ให้กับพี่น้องคนจนเมือง ปี 2549 และเข้าร่วมสัมมนาวางยุทธศาสตร์ชาติภาคประชาชน เมื่อ 9-10 ธ.ค.49
๖.๑๖ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยของชุมชนแออัดที่อยู่บนที่ดินของทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ได้ร่วมทำบันทึกความร่วมมือและลงเปิดเวทีร่วมกับเจ้าหน้าที่ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เพื่อสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมและการจัดการแก้ปัญหาโดยชุมชนเอง 39 ชุมชนนำร่อง เพื่อถวายในหลวง ครบรอง 80 พรรษา ปี 2549
๖.๑๗ ได้ร่วมกับผู้นำชุมชนแออัดทั่วประเทศผลักดันให้รัฐบาลหนุนเสริมสวัสดิการชุมชน ซึ่งเป็นสวัสดิการที่ชุมชนไม่เคยได้รับ หรือได้รับไม่ทั่วถึงจากการช่วยเหลือของหน่วยงานรัฐ โดยชุมชนเป็นผู้ออมทรัพย์ด้านสวัสดิการและเป็นผู้จัดสวัสดิการกันเองในชุมชน โดยใช้กองทุนสวัสดิการชุมชนของชุมชนบางบัว เป็นต้นแบบ ปัจจุบันชุมชนบางบัว ผู้สูงอายุได้เงินช่วยเหลือทุกคน เดือนละ 300 บาท ทุนการศึกษาเด็กปีการศึกษาละ 30 ทุน กรณีตายกองทุนฌาปนกิจช่วยเหลือโลงฟรี ดอกไม้แต่งหน้าศพ พวงหรีด 2 พวง และเป็นเจ้าภาพให้ 1 คืน และได้เงินช่วยเหลือศพละ 13,000 บาท กรณีแต่งงาน ได้ 500 บาท บวช 500 บาท เจ็บป่วยไม่สบายนอนโรงพยาบาล 2 วัน ได้ 500 บาท และสนับสนุนกิจกรรมเยาวชนต้านยาเสพติด และการเก็บขยะทำนํ้าหมักหรือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมในชุมชน และให้กลุ่มอาชีพได้ไปทำทุนหมุนเวียนค้าขาย เป็นกองทุนบูรณาการร่วมกันในชุมชนอย่างลงตัว โดยไม่ต้องรอการช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ หรือไม่ต้องเป็นผู้ขอ เราเป็นผู้สมทบกันเอง และเป็นผู้รับกันเองอย่างมีศักดิ์ศรีทั้งผู้ให้และผู้รับ เพื่อต้องการให้รัฐบาลเห็นว่าประชาชนทำได้ จึงให้รัฐบาล
สมทบลงสู่สวัสดิการชุมชน จนเป็นที่รู้จักในดีว่า สวัสดิการชุมชนท้องถิ่น จนได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นระดับชาติ โดยรองนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันได้รับการสนับสนุนงบประมาณสู่สวัสดิการภาคประชาชนแล้ว 500 ล้านบาท ปี 2549
๖.๑๘ ได้เข้าร่วมชี้แจงในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเป็นคณะกรรมการร่างสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น จนผลักดัน พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น พรบ. ป่าชุมชน และการขอแก้ไข และ ข้อยกเว้น พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ที่ไม่เอื้อกับชุมชนแออัดหรือที่อยู่อาศัยสำหรับคนจน ผ่านมติ ครม. ปี 2550 และเป็นวิทยากรการสำรวจข้อมูลเป็นชุมชนต้นแบบในการวางยุทธศาสตร์ชาติ ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 ก.ย.50 จนปัจจุบันได้มีการแก้ไข พรบ.ควบคุมอาคารสำหรับผู้มีรายได้น้อย เพื่อให้คนจนได้เข้าถึง
๖.๑๙ ได้จัดตั้งกลุ่มเยาวชนในชุมชน เพื่อห่างไกลจากยาเสพติด ซึ่งเมื่อ 6 – 7 ปี ที่ผ่านมา ชุมชนมียาเสพติดมากมาย ทั้งยาบ้า ดมกาว กัญชา เยาวชนถูกผู้ค้าดึงมวลชลเป็นพวกค้าด้วย เที่ยวข่มขู่ชาวบ้านขายกันเป็นพรรคเป็นพวก บางครั้งไล่ฟันกัน ผลประโยชน์ไม่ลงตัว คนในชุมชนดูแลเยาวชนไม่ได้ จึงใช้กลุ่มกิจกรรมเป็นตัวเชื่อม เช่น กีฬาเยาวชนภายในเครือข่าย และนำเยาวชนไปศึกษาดูงานคนเลิกยาที่วัดถํ้ากระบอก ไปเข้าค่ายกับทหาร ปจว. กองทัพน้อย และกรมทหารราบที่ 11 และชวนเยาวชนมากฝึกเป็นช่างก่อสร้างบ้านในชุมชน สร้างทีมกีฬาเยาวชนต้านยาเสพติดเพื่อไปแข่งขันกับภายนอก จนดึงมวลชนจากคนที่ค้ายาในชุมชนมาได้ ล่าสุดได้รับ
คัดเลือกเป็นชุมชนเข้มแข็งรับเงิน 8,000บาท ของพระราชินี เป็นกองทุนแม่ของแผ่นดิน ปี 50 และชมรมทูบีนัมเบอร์วันชุมชนบางบัว ชนะเลิศระดับ กทม.เข้าแข่งขันในระดับ ประเทศ ปี 54
๖.๒๐ นอกจากสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนให้ชาวบ้านยอมรับแล้ว ครอบครัว นายประภาส
แสงประดับ ยังเข้าใจการทำงานด้านพัฒนาทั้งครอบครัว จนเป็นแบบอย่างให้คนในชุมชน และเขตบางเขน และแข่งขันในระดับกรุงเทพมหานคร และระดับประเทศ ได้รับโลห์ครอบครัวมีสุขในวันครอบครัว ปี 2550 จากนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ จุฬานนท์
๖.๒๑ได้รับพระราชทานประกาศเกียรติคุณจากฟ้าหญิงอุบลรัตน ฯ ชุมชนเข้มแข็ง ทูบีนัมเบอร์วัน ปี 2550
๖.๒๒ได้รับเกียรติต้อนรับแขกต่างชาติ 22 ประเทศ หน่วยงานองค์กรการเงินนานาชาติ จากองค์กรสหประชาชาติ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ฯ และเข้าธรรมเนียบรัฐบาลพบนายกรัฐมนตรี เพื่อขอดูงานการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด ณ ชุมชนบางบัว เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน 2550
๖.๒๓ ได้รับเกียรติชุมชนต้นแบบจากหน่วยงานสำนักงานสถิติแห่งชาติ และสภาพัฒนาสังคมเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกรุงเทพมหานคร ขึ้นเวทีเป็นวิทยากรเสวนา ถ่ายทอดโทรทัศน์ โซนตะวันออก โซนตะวันตก 2 เวที ผู้เข้าร่วมสัมมนาประธานชุมชน 1,000ชุมชน ในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี 2550
๖.๒๔ ได้รับกียรติชุมชนต้นแบบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นระดับกรุงเทพฯ ขึ้นเสวนาในงานระดับชาติ งานวิถีพลังไทย 2 จัด ณ สวนอำพร กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2550
๖.๒๕ เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และติดตามการบริหารงานตำรวจชุมชนบางบัวฯ ได้รับผลงานดีเด่นประกาศเกียรติคุณ ปี 2550
๖.๒๖ ได้รับการเสนอรับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาปี ๒๕๕๐
๖.๒๗ เป็นชุมชนได้รับการคัดเลือกในระดับประเทศ ชุมชนปลอดภัย โดยสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนดีเด่น เข้มแข็ง จากรองนายกรัฐมนตรี
๖.๒๘ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ ปี 2552
๖.๒๙ ได้รับการประกาศเกียรติคุณด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน ดีเด่น จากสำนักงานเขตบางเขน
๖.๓๐ ได้รับการประกาศเกียรติคุณด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน ดีเด่น จากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
๖.๓๑ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ จากกองทัพบก เป็นบุคคลตัวอย่างด้านการพัฒนาสังคมดีเด่นปี 53
๖.๓๒ ได้รับโลห์ปฎิรูปประเทศไทย จากท่านอาจารย์ประเวศ วสี และท่านอานันท์ ปัญญาระชุน ปี 54
๖.๓๓ ได้รับประกาศนียบัตรด้านการส่งเสริมสวัสดิการชุมชนระดับชาติ ปี ๕๖ จากนายกรัฐมนตรีงานสมัชชาสวัสดิการชุมชนระดับชาติ
๗. ความสามารถพิเศษ
– เป็นวิทยากรการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย/ สิ่งแวดล้อม ของชุมชนแออัด และเครือข่ายคูคลอง
– เป็นวิทยากรการสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน
– เป็นวิทยากรการจัดตั้งสวัสดิการชุมชน
– เป็นวิทยากรเครือข่ายฯ ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ถังดักไขมันรายครัวเรือน , บ่อบำบัด,
– เป็นวิทยากรการจัดทำแผนชุมชน / งานสถิติข้อมูลภาคประชาชน
– เป็นวิทยากรโครงการบ้านมั่นคง(ที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน เมืองและชนบท)
– เป็นวิทยากรด้านกรรมการเมืองและการเชื่อมโยงท้องถิ่นและภาคี
เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนด้านการพัฒนาชุมชน (ปัจจุบันมีการมาศึกษาดูงาน ณ ชุมชนแล้ว กว่า 1,000 ชุมชน ทั่วประเทศ มาดูงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น)
– เป็นศูนย์การเรียนรู้ศูนย์คุณธรรมและจริยธรรมชุมชนบางบัว เขตบางเขน
๘. ผลงานดีเด่น / ผลงานที่ได้รับรางวัล
พ.ศ.๒๕๔๘ ได้รับรางวัลการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดีเด่น จากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ และกรุงเทพมหานคร ถังดักไขมันรายครัวเรือน(ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน)
พ.ศ.๒๕๔๘ เป็นชุมชนนำร่องแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนแออัด และสิ่งแวดล้อม ของกรุงเทพมหานคร ออกรายการกรองสถานการณ์ ช่อง 11
พ.ศ.๒๕๔๙ ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณคณะกรรมการเมืองภาคประชาชนดีเด่น ประจำปี ๔๙ องค์การสหประชาชาติ ( ผู้อำนวยการที่อยู่อาศัยโลก )
พ.ศ.๒๕๕๙ เป็นชุมชนต้นแบบการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนแออัด ถ่ายสารคดี รายการรวมพลังสร้างสุข ทางช่อง 11
พ.ศ.๒๕๔๙ ได้เป็นตัวแทนองค์กรชุมชนคนจนเมือง ตัวแทนของประเทศไทย ไปร่วมเวทีเสวนานานาชาติที่ประเทศเนปาล เมืองกาดมันดุ
พ.ศ.๒๕๕๐ ได้รับประกาศเกียรติคุณประธานคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจชุมชน จากสถานีตำรวจนครบาลบางเขน
พ.ศ.๒๕๕๐ เป็นชุมชนตัวอย่างการแก้ปัญหาคนชุมชนแออัด ช่อง 7 ข่าวภาคคํ่า และรายการด้วยลำแข้ง
พ.ศ.๒๕๕๐ เป็นชุมชนต้นแบบการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ทางช่อง mvtv รายการสดสารคดี สิบปากว่า 108 ปัญหาชุมชน
พ.ศ.๒๕๕๐ เป็นชุมชนแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและที่อยู่อาศัยถวายในหลวงครบรอบ 80 พรรษาสถานีวิทยุโทรทัศน์ ช่อง 9 ช่อง 3
พ.ศ.๒๕๕๐ ชุมชนเข้มแข็ง รายการรู้ทันข่าว ทางช่อง 11 , รายการเสียงประชาชน ช่อง 9
พ.ศ.๒๕๕๐ ได้เป็นผู้แทนเครือข่ายองค์กรชุมชนคนจน เสวนาที่ประเทศจีน มณฑลกวางตุ้ง
พ.ศ.๒๕๕๐ ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณครอบครัวดีเด่น สู่สังคมร่มเย็นเป็นสุข
จากนายรัฐมนตรี
พ.ศ.๒๕๕๐ ได้รับพระราชทานประกาศเกียรติคุณชุมชนเข้มแข็ง ทูบีนัมเบอร์วัน
จากฟ้าหญิงอุบลรัตน์ฯ
พ.ศ.๒๕๕๐ ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
พ.ศ.๒๕๕๐ ได้รับโล่ห์ประกาศเกียรติคุณชุมชนปลอดภัย จากรองนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับพระราชทานแครื่องราชย์เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ ด้านการพัฒนาสังคม
พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นคณะกรรมการเสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชนแห่งชาติ สำนัก
นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี (อภิสิทธิ์)
พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นรองประธานคณะกรรมการสวัสดิการชุมชน กรุงเทพมหานคร แต่งตั้งโดย ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร (สุขุมพันธ์)
พ.ศ.๒๕๕๓ ได้รับประกาศเชิดชูเกียรติจากกองทัพบก ด้านการพัฒนาสังคมดีเด่น พ.ศ.2553
พ.ศ.๒๕๕๓ ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศไทยชุด อ.ประเวศ วสีและได้รับโลห์ปฏิรูปประเทศไทยปี 54
พ.ศ.๒๕๕๓ ได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการชุมชนเมืองปฏิรูปประเทศไทยชุด อ.อานันท์และได้รับโลห์ปฏิรูปประเทศไทยปี 54
พ.ศ.๒๕๕๓ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประเมินความโปร่งใสองค์กร
จากอธิบดีกรมธนารักษ์ และ ได้รับเข้าอบรม หลักสูตร ตรวจสอบความโปร่งใส
ของ กพ. รุ่น 3 ปี 54
พ.ศ.๒๕๕๓ ได้รับการแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกินชนบทจากสำนักนายกรัฐมนตรี
พ.ศ.๒๕๕๔ ได้รับทุนการศึกษาผู้แทนเครือข่ายองค์กรชุมชน หลักสูตร รปม.
จากมหาวิทยาลัยเกริก
พ.ศ.๒๕๕๔ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรองค์การสหประชาชาติ เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา
ด้านการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนเมือง และได้รับเชิญจัดบูทที่อยู่อาศัยคนจน ณ สถาบันสมิสโซเนี่ยน เมืองวอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ.๒๕๕๖ ได้รับประกาศเกียรติคุณด้านการส่งเสริมสวัสดิการชุมชนระดับชาติ
จากนายกรัฐมนตรี ในงานสมัชชาสวัสดิการชุมชนระดับชาติ ณ ม.สุโขทัย ฯ
พ.ศ.๒๕๕๖ ได้รับโลห์จากคณะดูงานจาก คณะกรรมการด้านคุณธรรมและจริยธรรม
สภาพัฒนาการเมือง ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านมั่นคงชุมชนบางบัว เขตบางเขน