ท่องเที่ยววิถีมอญ 3 จังหวัด
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ททท.และ สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยว จับมือกันจัดงานแรลลี่ท่องเที่ยววิถีมอญใน 3 จังหวัด กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี ชมวิถีชาวมอญใน 3 จังหวัดที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย แล้วมาปักหลักฐานสร้างบ้านแปลงเมืองกับวิถีชาวมอญที่กระจายกันไปอยู่หลายจังหวัด ซึ่งยังรักษาขนบประเพณีวิถีชีวิตเอาไว้อย่างเหนียวแน่น ทั้งสององค์กรอยากเชิญชวนนักท่องเที่ยวขับรถในแบบแรลลี่ ใช้เวลาเดินทางเพื่อไปสู่รากเหง้าของชุมชนชาวมอญที่เข้่ามาในแต่ละยุคสมัย แต่ยังรักษาวิถีของชาวมอญได้เป็นอย่างดี
จุดเริ่มต้นของแรลลี่ครั้งนี้ ปล่อยตัวกันที่โรงแรมเดอะบาร์ซ่าร์ สวนลุมไนท์บาร์ซาร์ถนนรัชดา ในเช้าวันหนึ่ง การปล่อยรถแรลลี่ด้วยความเรียบร้อย จุดแรกเราเดินไปยังชุมชนชาวบางกระดี่ ถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวมอญเมืองหงสาวดี ถูกกวาดต้อนเข้ามาเพื่อขุดลอกคูคลองด่าน เมื่อเสร็จภาระกิจทางสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเมตตาให้ชาวมอญได้ตั้งถิ่นฐานอาศัยเป็นชุมชนชาวมอญที่บางกระดี่ ซึ่งอยู่เขตอำเภอบางขุนเทียนในปัจจุบัน
การตั้งถิ่นฐานชาวมอญสองร้อยกว่าปี การสร้างบ้านเรือนตามวิถีชาวมอญซึ่งนับถือหงส์กับธงตะขาบ เรามีโอกาสได้เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมชาวมอญ จากคุณถวิล มอญดะ ปราชญ์ชุมชนสำนักงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เคยได้รับรางวัลเกี่ยวกับการปักสไบมอญมาแล้ว ได้แนะนำการดำรงชีวิตของชุมชนชาวมอญผ่านมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่1จนมาถึงวันนี้ การสร้างวัดและหลายอย่างตามวิถีชาวมอญไม่ว่าจะชมสิ่งของชาวมอญเก็บไว้ในศูนย์แห่งนี้ ยังได้ชมการปักสไบชาวมอญหรือการทำแส้ ได้ร่วมทำบุญเลี้ยงอาหารเพลทำบุญสังฆทาน และฟังการสวดมนต์ให้ศีลให้พรในแบบชาวมอญซึ่งมีให้เห็นในชุมชนบางกระดี่บางขุนเทียน หลังจากร่วมรับประทานอาหารกลางวันแล้ว เราเดินทางไปเกาะเกร็ด
เกาะเกร็ด ชุมชนชาวมอญอพยพมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และในสมัยพระพุทธเลิศหน้านภาลัย ชุมชนแห่งนี้มีเอกลักษณ์หลายอย่างรวมทั้งการทำเครื่องปั้นดินเผา วิถีชาวมอญสร้างชื่อเสียงโด่งดังมาก สมัยรัชกาลที่5 วัดปรมัยยิการามได้ยกให้เป็นวัดพระอารามหลวงซึ่งมีพระเจดีย์เอียงเป็นสัญลักษณ์ของวัดแห่งนี้ ยีงเป็นที่เรียนรู้วิถีชาวมอญหลายอย่างในพิพิธภัณฑ์ของวัดแห่งนี้ การเดินท่องเที่ยวในชุมชนชาวมอญ ได้มาสาธิตการปั้นหม้อในแนวของชาวมอญเป็นกิจกรรมอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจอาหารบนเกาะนี้อร่อย สินค้าโอท้อปมากมายขึ้นไปชมวิถีชาวมอญบนเกาะเกร็ดคุ้มมากเลย
เราเดินทางไปปิดท้ายวันนี้ที่วัดกู้(วัดพระนางเรือล่ม)วัดท่าสอน หรือ วัดหลังสวน วัดแห่งนี้สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยามีประวัติความเป็นมายาวนานมาก สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสพระราชวังบางปะอินอยุธยา พร้อมพระมเหสีสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ การเสด็จประพาสทางเรือมาถึงตรงนี้เกิดเรือล่ม ในสมัยนั้นไม่มีใครกล้าเข้าไปช่วยเหลือเกรงจะถูกตัดหัว เลยทำให้สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เสด็จสวรรคต เมื่อกู้พระศพขึ้นมาที่วัดแห่งนี้ ชาวบ้านจึงเรียกว่าวัดกู้ตั้งแต่นั้นมา วัดกู้แห่งนี้คือวัดที่เป็นชุมชนชาวมอญอีกแห่งหนึ่ง ภายในวัดกู้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือพระพุทธรูปสำเร็จ มาขอพระพุทธรูปหยกขาวองค์นี้มักจะสำเร็จดั่งใจปรารถนา วัดนี้ยังมีศาลสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ มีตำหนักของพระองค์ท่านอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีพระพุทธไสยาสน์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีสิ่งที่เป็นสาธารณูปโภคครบครับมาวัดนี้สามารถมาเรียนรู้หลายอย่างได้ในเวลาเดียวกัน เดินทางมาได้ทั้งทางเรือทางบกอยู่ในเขตอำเภอปากเกร็ดจังหว้ดนนทบุรี
การปิดทริปวันนี้ที่วัดกู้ได้อย่างสวยงาม ขอขอบคุณการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ททท.สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยว ที่อำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยววิถีชาวมอญกับแรลลี่กิจกรรมแสนดีอย่างนี้ คงมีกิจกรรมแบบนี้ให้เรียนรู้ท่องเที่ยวกับวิถีชุมชนอีกหลายแห่งที่ยังรอการเรียนรู้อีกมากมาย.