เส้นทางใหม่-คลองหาด-เขาดิน-พระตะบอง ตอนที่ 2
การเดินทางเพื่อเข้าไปสู่ประเทศกัมพูชานั้นขั้นตอนไม่ค่อยยุ่งยากสักเท่าไหร่ ถ้านักท่องเที่ยวมีพาสปอร์ต เพียงเข้าไปสแต็มป์ผ่านแดนยังจุดผ่านแดนเข้าเมืองเสียค่าธรรมเนียมก็จบหรือไม่มีก็ทำบอเดอร์พาร์สชั่วคราวได้ เพราะประเทศในเออีซีเปิดกว้างไปมาหาสู่กันได้ ไม่ต้องทำวีซ่าเข้าประเทศเหมือนที่ผ่านมา เราจึงสามารถเข้าไปท่องเที่ยวในประเทศกัมพูชาได้นานนับเดือนหรือจะไปเช้าเย็นกลับก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน เมื่อวานเราท่องเที่ยวตามวิถีไทยในอำเภอคลองหาด ยังมีจุดน่าสนใจอีกมาก เพราะดินแดนแห่งนี้ในอดีตมีศูนย์อพยพของชาวกัมพูชา มีหมู่บ้านป้องกันตัวเองปัจจุบันนี้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ไปหมดแล้ว ยังคงเหลือร่องรอยของสงครามเอาไว้
เช้านี้เราทานอาหารที่บ้านสวนรีสอร์ทเช็กพาสปอร์ตเรียบร้อยแล้ว พร้อมออกเดินทางสู่ด่านเขาดิน ด่่านผ่านแดนอำเภอคลองหาดสู่ประเทศกัมพูชาซึ่งเปิดเป็นจุดผ่านแดนอย่างถาวรเพื่อเข้าไปยังเมืองพระตะบอง เมืองที่มีประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับประเทศไทยหรือเมืองสยามในอดีต เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ หรือท่านชุ่ม เคยเข้ามาเป็นเจ้าเมืองปกครองพระตะบองมานาน ได้สร้างบ้านแปลงเมืองอย่างมาก ท่านชุ่มได้สร้างวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับประเทศสยามในยุคนั้น ท่านสร้างวัดเอาไว้ 20 กว่าวัด และสร้างที่ทำการเจ้าเมืองเป็นตึกทรงยุโรปเอาไว้ วันนี้กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์ไปแล้ว เราเดินทางผ่านแดนเข้ามาเรียบร้อย โดยมีไกด์ท้องถิ่นของกัมพูชาชื่อเส็ง ผู้ชำนาญการในแถบนี้เพราะเป็นบ้านเกิดเขา จึงรู้เรื่องราวในอดีของเมืองพระตะบองได้เป็นอย่างดี ไกด์พูดถึงความรู้สึกในความศรัทธาท่านชุ่ม หรือ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ เจ้าเมืองในอดีตด้วยความชื่นชมและมีทัศนคติที่ดีต่อคนไทยเพราะคิดว่าเป็นบ้านพี่เมืองน้องกัน การเดินทางไกลราว 120 กิโลเมตร กับเส้นทางสองเลน แม้ว่าถนนจะลาดยางธรรมดาก็อำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดี เราผ่านเมืองสำเภาลูน และเห็นทางมอเตอร์เวย์ที่กำลังสร้างเพื่อผ่านเมืองพระตะบองเข้าสู่พนมเปญเป็นสี่เลน เราใช้เวลาราวสองชั่วโมงข้ามแม่น้ำซอมแกเข้าไปสู่กลางเมืองพระตะบอง แวะรับประทานอาหารกลางวันก่อน อาหารกัมพูชาก็คล้ายๆกับอาหารไทยรสชาติใกล้เคียงกัน เลยอิ่มแบบสบายใจ ก่อนที่เราจะไปกราบไหว้อนุสาวรีย์ตาตะบองขะยุง ก่อนที่จะเข้ามาในเมืองพระตะบอง เราผ่านวงเวียนพระนารายณ์หรือพระศิวะก็ไม่แน่ใจ ซึ่งไกด์บอกว่าเขาสร้างผิดแบบรวมเอาสองเทพมาไว้ในองค์เดียวกัน แต่อนุสาวรีย์ตาตะบองขะยุง เป็นอนุสาวรีย์หลักเป็นที่เคารพสักการะของคนเมืองพระตะบอง จะมากราบขอพรแล้วประสบความสำเร็จก็ไม่ต่างจากประเทศไทย เราแวะสักการะและถ่ายรูปจุดสำคัญของเมืองนี้ แล้วออกเดินทางต่อไปยังตึกที่ทำการเมืองพระตะบอง
ตึกที่ทำการเจ้าเมืองในอดีตของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ ท่านมาปกครองเมืองแห่งนี้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนที่นักล่าอาณานิคมอย่างฝรั่งเศสจะเข้ามารุกรานยึดครองเมืองแห่งนี้ไป เหลือทิ้งไว้ยังตึกทรงยุโรป ซึ่งเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ได้สร้างขึ้นมาใหม่ที่จังหวัดปราจีนบุรี ตอนนี้กลายเป็นโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ถือว่าตึกนี้เป็นตึกคู่แฝดกัน วันนี้เรามาถึงที่นี่ไม่สามารถเข้าไปชมภายในได้เพราะเขาปิดทำการได้แต่มองลอดรั้วไปดูเท่านั้น ได้เวลาพอสมควรเราออกเดินทางไปยังวัดดำไลซอร์ หรือ วัดช้างเผือก หน้าวัดจะมีรูปปั้นช้างขาวอยู่ 2 เชือก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของประเทศสยามในยุคนั้น ภายในวัดมีการก่อสร้างหลายอย่างที่เป็นศิลปะของชาวกัมพูชา แต่พระอุโบสถยังคงเป็นศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์อย่างชัดเจน การสร้างอุโบสถนั้นทางเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ ได้สร้างปูนปั้นเกี่ยวกับเรื่องราวของรามเกียรติ์เอาไว้รอบพระอุโบสถ ที่สำคัญคือได้ปั้นตราสัญจกรสัญลักษณของพระพุทธเจ้าหลวงพระปิยะมหาราชรัชการที่5 เอาไว้บนหน้าต่างโบสถ์ ภายในโบสถ์ยังมีเสาไม้แกะสลักอย่างสวยงามด้วยศิลปะของไทยล้วนๆ มีเรื่องราวภาพเขียนพุทธประวัติเหมือนกับวัดไทยโดยทั่วไป ในสมัยก่อนนี้เมืองพระตะบอง สำเภาลูนจะเป็นเมืองที่มีป่าดงดิบมากเต็มไปด้วยไข้ป่าการเดินทางค่อนข้างลำบาก เมื่อความเจริญเข้ามาแทนที่ป่าไม้เลยหายไปหมดปล่อยเป็นท้องทุ่งนาไปหมดในปัจจุบัน
นอกจากวัดช้างเผือกซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ร้อยกว่าปี วัดนี้จึงเป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธ เมืองพระตะบองได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของประเทศกัมพูชากันเลยทีเดียว จะเห็นได้ว่าการปกครองของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ท่านได้สร้างวัดเอาไว้ 20 กว่าวัด ซึ่งกระจัดกระจาย เต็มเมืองไปหมด สมัยที่ท่านปกครองเมืองนี้ ท่านชุ่มก็มีคนสนิททั้งที่เป็นคนไทยติดตามท่านมาและคนกัมพูชาอีกหลายคนที่ท่านไว้วางใจให้ช่วยงานราชการ การสร้างบ้านที่เป็นชุมชนของท่านทางทิศเหนือ ทำให้วันนี้ชุมชนแห่งนั้นกลายเป็นหมู่บ้านโบราณมีอายุยาวนานร้อยกว่าปี บ้านบางหลังคือส่วนใหญ่ยังคงเอกลักษณ์แบบบ้านโบราณเอาไว้ หลังจากที่กราบไหว้พระประธานในพระอุโบสถแล้ว เรามีเวลาแวะไปชมบ้านโบราณของคนสนิทของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ ที่ยังคงเอกลักษณ์แบบบ้านโบราณนี้ไว้จนถึงรุ่นหลานๆซึ่งก็อายุมากแล้ว ได้บอกเล่าเรื่องราวของบ้านที่เล่าสืบกันมาบนบ้านแบ่งออกเป็นห้องผู้หญิงห้องผู้ชายจะมีความแตกต่างกันเกี่ยวกับประตูทางเข้า เพราะเป็นบ้านไม้สมัยก่อนจะเป็นป่าใต้ถุนจะยกสูงมีที่สำหรับอาบน้ำ การนำชมบนบ้านมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องเรียนรู้วิถีชีวิตของคนในสมัยโบราณมาจนถึงวันนี้มันคือตำนานเรื่องเล่าขานสืบทอดกันมากับชุมชนบ้านโบราณพระตะบอง
เราอำลาเมืองพระตะบองเพื่อกลับมายังด่านเขาดิน ระหว่างทางเรายังมีจุดที่จะต้องแวะไปนมัสการวัดแอกพนม และชมปราสาทแอกพนมหรือเอกพนมที่คนไทยรู้จัก ปราสาทแอกพนมนี้ทางไกด์บอกว่าเป็นปราสาทขนาดเล็กไม่ใหญ่มากสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันต์ที่1 ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่าปราสาทนครวัดนครธม ปราสาทแห่งนี้ยังมีรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ติดอยู่ตรงหน้าปราสาท เราเดินไม่นานก็รอบปราสาทแล้ว ยังเหลือตัวปราสาทที่ยังคงสมบูรณ์อยู่ การสร้างปราสาทแนวนี้เพื่อบูชาพระศิวะของศาสนาฮินดู เมื่อการสร้างวัดตรงนี้ปราสาทแอกพนมเลยอยู่ด้านหลังพระอุโบสถไป เราชื่นชมปราสาทแอกพนมพอสมควรแก่เวลา ต้องเดินทางกลับก่อนที่ด่านจะปิด ใช้เวลาเร็วกว่าเดิมเดินทางมาถึงด่านเขาดินในเวลาห้าโมงกว่าเพื่อนั่งรถตู้เที่ยวสุดท้ายจากอำเภอคลองหาดเพื่อเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร
การมาสำรวจเส้นทางใหม่กับกรุ๊ปทัวร์ของบริษัทอรัญศรีโสภณแทรเวลจำกัดได้อิ่มเอมกับความสนุกตลอดเวลาสองวันหนึ่งคืน ด้วยความเมตตาจาก คุณราตรี แสงรุ่งเรือง เจ้าของผู้ชำนาญการท่องเที่ยวในแถบเออีซีที่อำนวยความสะดวกตลอดเส้นทางรวมทั้ง คุณหมูหยองเจ้าหน้าที่สาวคนสวยที่คอยเอาใจใส่ดูแลลูกทัวร์ทุกคนด้วยความมีน้ำใจสูง ขอบคุณสิ่งดีๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมซึ่งต้องไปเสาะหาเรียนรู้ ขอบคุณทุกน้ำใจที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันตลอดที่อยู่ด้วยกันมา ความประทับใจอย่างนี้ต้องเก็บไว้ในความทรงจำเสมอ โอกาสหน้าถ้ามีคงได้รับสิ่งดีๆเพิ่มเติมให้กับชีวิตนำมายอกเล่ากันอย่างไม่รู้จบ
สนใจท่องเที่ยวแบบนี้ลองโทรศัพท์ไปคุยไปจองได้ที่เบอร์โทร 037-232-383-4 หรือ เบอร์ตรงคุณราตรี 081-302-1709 สอบถามรายละเอียดอยากไปเที่ยวที่ไหนไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม จีน สิบสองปันนา รับรองว่าบริการทุกระดับประทับใจ ไปแล้วจะมีความสุขทุกวัน.