คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มธ นำสื่อลงพื้นที่ จ.ระยอง ติดตามผลสำเร็จ “ธรรมศาสตร์โมเดล” โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้ยั่งยืน

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี  มธ นำสื่อลงพื้นที่ จ.ระยอง

ติดตามผลสำเร็จ “ธรรมศาสตร์โมเดล” โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้ยั่งยืน

 

รศ.ดร.พิภพ  อุดร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำสื่อมวลชนจากส่วนกลางลงพื้นที่ติดตามผลสำเร็จการดำเนินงานโครงการ “ ธรรมศาสตร์โมเดล” ณ วิสาหกิจชุมชน จ.ระยอง   รศ.ดร.พิภพ  กล่าวถึงโครงการนี้ว่า  ธรรมศาสตร์โมเดลเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรบริหารของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่กำหนดให้นักศึกษาปี 3 ทุกคนต้องเข้าไปทำงานร่วมกับวิสาหกิจชุมชน เพื่อใช้ความรู้ในทุกวิชาที่เรียนมาไม่ว่าจะเป็นการตลาด  การผลิต  การบัญชี หรือการจัดการ มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างผลสำเร็จให้กับวิสาหกิจชุมชนนั้นๆ

 

arm9532     arm9540

 

โครงการนี้ทำมา 10 ปีแล้วในหลายจังหวัด อาทิ บุรีรัมย์ ราชบุรี สมุทรสงคราม  แต่สำหรับระยอง เราทำมารุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 3 แล้ว มีพันธมิตรเข้ามาร่วมด้วยจากสมาคมเพื่อนชุมชน และบริษัทต่างๆที่มีฐานการผลิตอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมาร่วมกันเป็นพี่เลี้ยง อาทิ  กลุ่ม ปตท. บริษัท ดาว ( ประเทศไทย)  ธนาคารออมสิน เป็นต้น  ซึ่งในแต่ละเทอมเราจะจัดทีมนักศึกษามาฝังตัวกับชุมชนเพื่อศึกษาปัญหา แล้วลงมือทำจริง ตามแนวทาง “ธรรมศาสตร์โมเดล” คือ นักศึกษาต้องเรียนรู้ เอาชุมชนเป็นตัวตั้ง  ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมกับแลกเปลี่ยนความรู้กับชุมชน นำไปสู่การปฏิบัติจริง  ชุมชนก็ต้องเปิดใจ และจับมือทำงานร่วมกันให้เห็นผลในระยะเวลา 4  เดือน ตามแนวทางของเราคือ ไม่ใช่การให้ฝ่ายเดียว หรือไม่ใช่การแบมือรับฝ่ายเดียว ต้องเรียนรู้และทำงานไปด้วยกัน เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน แม้โครงการจะจบไปแล้วก็ตาม

 

arm9566

 

โดยหลักๆปัญหาร่วมของวิสาหกิจชุมชนทุกกลุ่มคล้ายกันคือ สินค้าไม่ได้มาตรฐาน บรรจุภัณฑ์ไม่ชวนซื้อ ขาดข้อมูลรายละเอียดสินค้า ช่องทางการจัดจำหน่ายจำกัด ที่สำคัญคือ ไม่มีการทำบัญชี บันทึกต้นทุนกำไรที่แท้จริง  ดังนั้นตลอด 4 เดือนในกระบวนการ นักศึกษาต้องคิด วิเคราะห์ ค้นคว้า และพัฒนาแนวทาง จนมีผลลัพธ์ออกมาเป็นรูปธรรม ไม่ใช่แค่ไอเดียหรือ แผนงาน

 

arm9570

 

ซึ่งธรรมศาสตร์โมเดลรุ่นที่ 3 ได้รับความสำเร็จอย่างน่าพอใจ บรรลุเป้าหมายที่เราตั้งไว้  ผลลัพธ์จากการเรียนรู้ในโครงการ ไม่ใช่แค่ผลสำเร็จทางธุรกิจและการเงิน หากแต่ยังเป็นการ  Transform  วิธีคิดและมุมมองของนักศึกษาให้ตระหนักในปัญหาของชุมชน เข้าใจกลุ่มคนที่ยังมีความยากลำบากในสังคม และเป็นโอกาสในการยื่นมือเข้าช่วยเหลือชุมชนด้วยการสร้างกลไกที่ทำให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถพัฒนา และต่อยอดวิสาหกิจชุมชนด้วยตนเองต่อไปได้ในอนาคต  เราเชื่อว่านี่คือหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการปลูกฝัง CSR ลงใน DNA  ของนักศึกษา และตั้งความหวังว่า สิ่งนี้จะติดตัวนักศึกษาไปเมื่อจบการศึกษาไปเป็นบัณฑิตธรรมศาสตร์ที่พร้อมสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยและสังคมโลกต่อไป   รศ.ดร.พิภพ อุดร กล่าวปิดท้าย

 

arm99003

วิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพชุมชนเกาะกก

ผลิตภัณฑ์:  ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ภายใต้แบรนด์  “Rice Me”

arm99005

  • วิสาหกิจชุมชนเขาไผ่

ผลิตภัณฑ์: น้ำพริกหมูชะมวง  ภายใต้แบรนด์ “ แหล่มฮิ”

arm99004

arm9579     arm99001

  • วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ป่าชุมชน ต.เนินพระ

ผลิตภัณฑ์: เครื่องดื่มสมุนไพรใบชะมวง ภายใต้แบรนด์  “ รสชะมวง”

arm9660     arm99002

  • วิสาหกิจชุมชนสกรีนเสื้อผ้าชุมชนตลาดห้วยโป่ง ต.ห้วยโป่ง อ.มาบตะพุด

ผลิตภัณฑ์: ผ้ามัดย้อม ภายใต้แบรนด์  “ มัดใจ”

arm99006

    arm9734     arm9790

  • วิสาหกิจชุมชน ศพก.บ้านฉาง

ผลิตภัณฑ์: มันสำปะหลังทอด   ภายใต้แบรนด์ “ CLASSY CHIPS”

 

 

 

Related posts