เยือนหมู่บ้าน OTOP 3 จังหวัด ใน 1 คืน 2 วัน แล้วคุณจะ..รัก..เขา ตอนที่ 2 : หมู่บ้านหาดส้มแป้น – บ้านหงาว และ หมู่บ้านทะเลนอกระนอง

เยือนหมู่บ้าน OTOP 3 จังหวัด ใน 1 คืน 2 วัน แล้วคุณจะ..รัก..เขา  ตอนที่ 2 

หมู่บ้านหาดส้มแป้น – บ้านหงาว และ หมู่บ้านทะเลนอกระนอง

 

…หมู่บ้านหาดส้มแป้น จังหวัดระนอง

หาดไร้เงา ขุนเขานมสาว ดินขาวมากมาย  พ่อท่านคล้ายศักดิ์สิทธิ์ แดนเนรมิตระนองแคนยอน…

 

314     319

318

 

เช้าของวันที่สอง ถึงระนอง..เดินทางออกจากโรงแรมที่พัก มุ่งหน้าไปยังหมู่บ้าน….หาดส้มแป้น จังหวัดระนอง  หาดไร้เงา ขุนเขานมสาว ดินขาวมากมายพ่อท่านคล้ายศักดิ์สิทธิ์ แดนเนรมิตระนองแคนยอน…คือนิยามของที่นี่ จะเป็นจริงดั่งว่าหรือไม่ ต้องตามไปดู ..ซึ่งหลังชื่นใจกับการแสดงต้อนรับและ welcome drink  น้ำส้มเกร่า หรือน้ำของผลส้มจี๊ด ที่จะอุดมไปด้วย วิตามินเอ ซี และกรดอินทรีย์หลายชนิดสำหรับผู้ที่ไอและมีเสมหะให้นำน้ำที่คั้นได้มาผสมกับเกลือเล็กน้อยจะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้ ,การต้อนรับด้วยการแสดงอัตลักษณ์ชุมชน  กิจกรรมร่อนแร่ แหล่งแร่สำคัญของจังหวัดระนองโดยเฉพาะแร่ดีบุก ใช้เลียงเป็นอุปกรณ์ในการร่อนแร่ชมศูนย์เซรามิกดูการสาธิตเซรามิก ที่มีเอกลักษณ์ของความเป็นไทย สะท้อนวิถีชุมชน และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทนไฟสูง มีอายุการใช้งานยาวนาน

 

320     321     323

322

 

สำหรับบ้านหาดส้มแป้น มีดินขาวอยู่มาก ซึ่งเดิมที่ตำบลนี้มีการการทำเหมืองแร่ดีบุก และในระหว่างที่มีการฉีดเหมืองเพื่อนำแร่ดีบุกขึ้นมาใช้จึงพบดินขาว ซึ่งผลการวิจัยพบว่าเป็นดินขาวที่ดีที่สุดในประเทศไทย เมื่อแร่ดีบุกราคาตกต่ำจึงได้มีการวิจัยอย่างจริงจัง จึงเริ่มหันมาทำเหมืองดินขาวนำออกขาย มีการสัมปทานเหมืองดินขาวต่อกันมาถึง 3 รุ่นรวมอายุประมาณ 100 กว่าปี ปัจจุบันมีการทำเหมืองดินขาวอย่างแพร่หลายในตำบลหาดส้มแป้นนี้  เมื่อมาใช้ทำผลิตภัณ์จะทนไฟสูง มีอายุการใช้งานยาวนาน ผลิตภัณฑ์มีเอกลักษณ์ของความเป็นไทย สะท้อนวิถีชุมชน

 

328     325

326

 

เราได้ประจักษ์ว่า หมู่บ้านหาดส้มแป้น ตำบลเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ในหุบเขา มีภูเขานมสาวล้อมรอบแห่งนี้ เพี้ยนมาจากคำว่า ห้วยซัมเปียน ในภาษาจีน ซึงแปลว่า “ลึกเข้าไปในหุบเขา” เดิมเป็นพื้นที่ป่ารกทึบ บรรพบุรุษจีนในสมัยนั้น ได้ตามสายแร่มาจนถึงพื้นที่แห่งนี้ และเรียกว่า “ห้วยชานเปียน” หรือ “ห้วยซัมปา” ก่อนที่คำจะเพี้ยนมาเป็น“หาดส้มแป้น” ในปัจจุบัน

ตำบลหาดส้มแป้น อยู่ห่างจากอำเภอเมืองระนองประมาณ 8 กม. เข้าทางถนนเพชรเกษมผ่านสวนสาธารณะรักษะวาริน (บ่อน้ำร้อน)  เป็นหมู่บ้านชนบทที่แวดล้อมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลายหลาก  ประชาชนตั้งรกรากจากการทำเหมืองแร่ในอดีตและได้น้อมนำแนวชพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของประบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ใช้เป็นวิถีทางในการดำรงชีวิตตนเอง

 

327     334

332     333

335

 

ไปบ้านหงาว…ระนอง น่ะ รับรองไม่มี…เหงา…  

 

กิจกรรมที่นี่ เข้าวัดบ้านหงาว  สักการะพระพุทธรูปดีบุก ชมสินค้าท้องถิ่น  ชมระบำร่อนแร่ + ระบำบ้านหงาว ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของบ้านหงาว  , เยือนป่าชายเลนหมู่เกาะระนอง และร่วมปลูกป่าด้วย และรับรองว่า เราอดใจไม่ไหวที่จะต้องช้อป เม็ดมะม่วงหิมพานต์หรือภาษาถิ่นเรียกกาหยู สินค้าท้องถิ่นของชุมชนที่นำรายเพิ่มมูลค่าเป็นกอบเป็นกำให้ชาวบ้าน

เช่นกัน“หงาว”เป็นอีกชื่อที่เพี้ยนมาจากภาษาจีน อีกเช่่นกัน มาจากชื่อของวัวป่า ซึ่งชาวจีนเรียกวัวป่าว่า “โหงว” เนื่องจากตำบลหงาวแต่โบราณ เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ มีสัตว์ ประเภทกินหญ้าอาศัยอยู่มาก โดยเฉพาะวัวป่า เมื่อครั้งคอซูเจียง (ต่อมาเป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี) เข้ามาบุกเบิกทำเหมืองแร่ทีนี่จึงเรียกที่นี่ว่า “ทุ่งโหงว” หรือ ทุ่งวัวป่า 

 

339

 

ต่อมาเพี้ยนเป็น “ทุ่งหงาว” โดยเริ่มมีคนเจ้ามาอยู่อาศัยมากขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2454  เนื่องจากบริษัท ไซมิสทินซินติเกรต  ได้เข้ามาขอสัมปทานบัตรขุดหาแร่ดีบุก  ต่อเรือขุดแร่ขึ้น  3  ลำพร้อมกัน  จึงต้องใช้คนงานจำนวนมาก  ทั้งคนงานของบริษัท และคนงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง   เช่น คนตัดฟืนขายให้บริษัททำเชื้อเพลิงสำหรับเรือขุดแร่  รวมกว่าพันคน เมื่อรวมถึงครอบครัวคนงานและพ่อค้าแม่ค้าจึงเกิดเป็นชุมชนใหญ่  จึงได้รับการยกฐานะเป็นตำบล  เรียกว่า  “ตำบลหงาว” ต่อมาพื้นที่บางส่วนของตำบลหงาวที่เป็นย่านชุมชนหนาแน่นหรือย่านเศรษฐกิจของตำบลหงาว  ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ณ  วันที่  1  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2516  จัดตั้งเป็นสุขาภิบาลหงาว  อำเภอเมืองระนอง  จังหวัดระนอง  ต่อมามีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542  มีผลทำให้สุขาภิบาลทั่วประเทศเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบล  ตั้งแต่วันที่  25  พฤษภาคม พ.ศ. 2542  สุขาภิบาลหงาวจึงเปลี่ยนฐานะเป็นเทศบาลตำบลหงาวจนถึงปัจจุบัน

 

343

 

ส่วนวัดบ้านหงาว เป็นวัดดังของ จ.ระนอง  มีชื่อเสียงอยู่ด้วยกัน 3 อย่าง

1. วังมัจฉา มีปลาจำนวนมากและขนาดใหญ่มากตั้งแต่ปลาบึก ปลาจาระเม็ดน้ำจืด ปลาดุกยักษ์

2. อุโบสถหลังใหม่ มีรายละเอียดการตกแต่งที่สวยงามมาก

3. พระพุทธรูปดีบุก เป็นพระพุทธรูปดีบุกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ตั้งของวัดบ้านหงาวจะอยู่ใกล้กับภูเขาหญ้า และ อยู่ตรงข้ามกับน้ำตกหงาว

 

344

 

ฮัดช่า…ลิเกฮูลู..ทำเอาเราอยากพันเอวด้วยบาติก..แล้วอยู่เป็นครอบครัวขาวเล

 

จุดสุดท้ายของสื่อมวลชนสัญจร ที่หลายคนไม่อยากจากมา  “หมู่บ้านทะเลนอกระนอง”กับการต้อนรับด้วย”ลิเกฮูลู”การละเล่นพื้นบ้านของชาวมลายูมุสลิมภาคใต้ของไทยเป็นเพลงประกอบดนตรีและจังหวะตบมือ ต้องบอกว่าหาดูไม่ง่าย  ได้เรียนรู้วิถีชีวิตชาวเลและวิถีการทำประมง  ดูสาธิตการทำผ้าบาติก  และที่นี่มี Landmark ถ่ายภาพแสนงาม

 

385     386

 

หมู่บ้านทะเลนอกระนอง  เป็นหมู่บ้านริมชายหาดที่มีการจัดการท่องเที่ยวเชิงชุมชนอย่างเป็นระบบและน่าสนใจ โดยในอดีตบ้านทะเลนอกตั้งบ้านเรือนอยู่สองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งอยู่บริเวณปากคลองติดกับทะเล และอีกกลุ่มอยู่บริเวณป่าโกงกางเหนือขึ้นมา

ครั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์สึนามิ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2547 บ้านบริเวณปากคลอง ถูกทำลายไปเสียสิ้น  ชาวบ้านจึงทำการฟื้นฟูหมู่บ้านขึ้นมาใหม่ โดยเน้นการอนุรักษ์ป่าโกงกาง ป่าฝน และสัตว์น้ำ

 

346     375

 

ดังนั้นที่เราต้องเตรียมตัวเตรียมใจสัมผัสกิจกรรมมากมาย กับวิถีชาวบ้านอย่างเต็มอิ่ม สัมผัสวิถีชีวิตตามจารีตประเพณีหมู่บ้านที่ล้อมรอบไปด้วยป่าชายเลน กับความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายแต่สะดวกสบาย มีโฮมสเตย์ชาวบ้าน จะได้นั่งเรือชมป่าโกงกาง พร้อมมัคคุเทศก์ท้องถิ่นคอยบรรยายให้เราได้รู้จักพืชและสัตว์ต่างๆ  ได้เดินป่าศึกษาธรรมชาติ ในป่าฝนบนเนินเขาที่ไม่ไกลจากหมู่บ้านมากนัก พร้อมมัคคุเทศก์ท้องถิ่นเช่นกัน

ชมการลากอวนชายหาด เมื่อแดดร่มลมตกในยามเย็นใกล้อาทิตย์ลับฟ้า ชาวบ้านจะพาเดินลงน้ำเพื่อไปช่วยกันลากอวนด้วย  เมื่อเดินถึงระดับที่น้ำอยู่ประมาณเอวหรืออก อวนจะถูกปล่อยลง ใช้เท้าในการตรึงอวนให้เป็นตาข่ายพร้อมกับเดินขึ้นมาชายหาดพร้อมปลาจำนวนมากมาย ปลาตัวใหญ่จะถูกเลือกไว้เพื่อทำอาหาร ขณะที่ตัวเล็กก็ปล่อยกลับลงทะเล จากนั้นจะได้ลิ้มรสอาหารทะเลปักษ์ใต้จากฝีมือหาปลาของตนเองอีกด้วย

 

388     389

376

 

จะมีกิจกรรมสาธิตและชมงานหัตถกรรมต่างๆ ของหมู่บ้าน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ  มีอยู่สองกลุ่ม  คือ กลุ่มแม่บ้านทำสบู่ และกลุ่มทำบาติก เราสามารถเรียนรู้การทำสบู่ และการวาดภาพบาติกได้จากสมาชิกกลุ่มพร้อมนำผลงานตัวเองกลับบ้านเป็นที่ระลึก หากมีเวลามากพอที่นี่เหมาะอย่างยิ่งที่จะค้างคืน รอแสงแรกของพระอาทิตย์ ความสุขล้นปรี่แน่นอน

เวลาเพียง 1 คืน 2 วัน ที่เราใช้ไปกับการเดินทางเยือนชุมชน..อันเต็มไปด้วยอัตลักษณ์ ภูมิปัญญา  วัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิม ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่สร้างรายได้และความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนสู่ชุมชน จนสามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้เดินทางไปรู้จักพวกเขา…เราว่ามันคือความคุ้มค่ามากกับการที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางมาเพื่อรู้จัก สัมผัสก่อนที่จะรักชุมชนเหล่านี้..เหมือนที่เราไปพบและ”รัก”พวกเขามาแล้ว

 

390     391

 

 

 

 

 

 

Related posts