เทศกาลแห่งแสงไฟและสื่อประสมราชบุรี

เทศกาลแห่งแสงไฟและสื่อประสมราชบุรี

การท่องเที่ยว​แห่ง​ประเทศไทย​ ททท.สำนัก​งานภูมิภาค​ภาคกลาง​ นำสื่อมวลชนเดินทางไปร่วมงาน​ “ย้อนรอยเล่าขาน​ ตำนานเมืองราชบุรี​ เรืองรุจี​ เกริกก้องปฐพี” ซึ่งเป็นเมืองรองในการ​ เปิดตำนานเล่าขานเรื่องราวของเมืองราชบุรี​ ด้วยการแสดงแสงสีเสียงสื่อผสม​ กลางลำน้ำแม่กลอง​ เป็นครั้งแรก​ แต่การเดินทางครั้งนี้​ ททท.ภูมิภาค​ภาคกลาง​ เดินทางสำรวจแหล่งท่องเที่ยว​วิถีชุมชน​ และ​ ค้นหาผ้าทอมือของภาค​กลาง​ เพื่อนำมาแสดงในงานเทศกาลท่องเที่ยวไทย​ ซึ่งจัดการแสดงผ้าทอมือของภาคกลางบนเวทีของภูมิภาค​ภาคกลาง​ ที่ลุมพินีสถาน

 

20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0037     20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0035

20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0033     20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0031

20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0030     20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0029

20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0028

20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0027

การเดินทาง​ครั้งนี้​ จุดแรกของการเดินทางอยู่ที่หมู่บ้านรวมไทย​ หมู่บ้านต้นแบบของวิถีชุมชนรองรับนักท่องเที่ยว​ที่จะเข้ามาเยือนเพื่อศึกษา​ หมู่บ้านรวมไทย​ อำเภอกุยบุรี​ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์​ ไปเรียนรู้การเคี่ยนไม้กระถินณรงค์​และไม้เนื้ออ่อน​ทำของที่ระลึกหลากหลาย​เพื่อการจำหน่าย​ และ​ ยังได้ไปศึกษาเรียนรู้​การ​ ทำกระดาษจากใบสับปะรด​ ซึ่งมีอยู่มากมายในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์​ การทำกระดาษจากใบสับปะรดผสมกับขี้ช้าง​ จึงได้กระดาษ​หลากสีสันออกมา​ เพื่อเป็นศูนย์​การเรียนรู้อีกแห่งหนึ่ง

 

20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0023     20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0022

20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0021

หมู่บ้านรวมไทยซึ่งอยู่ในอาณาเขตติดกันกับ​อุทยานแห่งชาติ​กุยบุรี​ ซึ่งสถานที่​แห่งนี้คืออุทยาน​แห่งการเรียนรู้​วิถีสัตว์​ เพราะกุยบุรี​เป็นอุทยานแห่งชาติ​ที่​มีสัตว์ป่าขนาดใหญ่เช่นช้าง​ป่า​ กระทิง​ และวัวแดง​ มากมาย​ เป็นจุดชมสัตว์ป่าที่ออกหากินตามธรรมชาติ​ โดยทางอุทยาน​แห่งชาติกุยบุรี​ จะจัดรถสองแถวให้นั่งไปยังจุดต่างๆที่สามารถมองเห็นฝูงสัตว์ป่า​ในระยะไกลๆได้​ ทางอุทยานแห่งชาติ​กุยบุรี​ยังมีกล้องส่องทางไกลให้เช้าดูสัตว์อย่างใกล้ชิดติดตาเลย  การชมสัตว์​ป่าในเวลาเย็น​ย่ำสนธยาหมดเวลาเมื่อพระอาทิตย์​คล้อยลงลับเหลี่ยมเขา​ เราจึงเดินทางกลับมาพักผ่อนยังหัวหิน​ เพราะพรุ่งนี้​มีโปรแกรมไปชมการทอผ้าที่หมู่บ้านเขาเต่า

 

20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0018     20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0017

20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0015     20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0013

20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0010      20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0009

รุ่งเช้าเราเดินทางเข้าไปศึกษาวิธีการทอผ้าจากโรงงานทอผ้าแห่งแรกของประเทศไทย​ซึ่งอยู่ในโครงการ​พระราชดำริ​ มีผ้าทอมือหลากหลาย​ชมการทอผ้าซึ่งผู้ทอผ้าอย่างชำนาญ​ เมื่อเสร็จ​สิ้นเราออกเดินทาง​จากบ้านเขาเต่า​ เพื่อไปยังจังหวัดราชบุรี​ ไปยังชุมชนบ้านคูบัว​ เพื่อไปชมผ้าซิ่นตีนจกของชาวไทย​ยวน​ ซึ่งอพยพมา​จากเชียงแสนกระจัดกระจายอยู่หลายหมู่บ้าน​หลายอพเภอของจังหวัดราชบุรี​ แต่ไม่ทิ้งวิถีชีวิต​ของชาวไทย​ ยวนที่ติดตัวมาคือการทอผ้า​ มารับ​ฟังเรื่องราวตำนานของผ้าทอจกของชาวไทย​ยวนจาก​ ดร.อุดมพร​ ​ที่สหกรณ์ไทย​ยวนคูบัว​เมื่อได้รับฟังเรื่องราวเกี่ยวกับตำนานทอผ้าจกของชาวไทย​ยวนแล้ว​ เรายังมีโอกาสไปชมพิพิธภัณฑ์​จิปาถะของชาวไทย​ยวน ซึ่งอยู่อีกหมู่​บ้านหนึ่ง​ซึ่งไม่ไกลกันมาก​ เป็นอันเสร็จสิ้น​กับการเดินทางเพื่อมาตามหา​ผ้าทอของภาคกลางจากจุดแรกบ้านเขาเต่าอำเภอหัวหิน​ จนมาถึงชุมชุนไทย​ยวน​ บ้านคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี​ เย็นนี้เราจะไปร่วมงานเทศกาลแห่งไฟ​ และ​ สื่อประสม​จังหวัด​ราชบุรี​ เป็นครั้งแรกกับงาน“ย้อนรอยเล่าขาน​ ตำนานเมือง​ราชบุรี​ เรืองรุจี​ เกริกก้องปฐพี” ในงานนี้ยังมีอีกหลายอย่างผสมผสานกันอย่างลงตัว​ ราชบุรี​เมืองรองที่ต้องมาเยือน

 

20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0008     20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0007

20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0006     20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0005

20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0004     20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0003

20190206_%e0%b9%91%e0%b9%99%e0%b9%90%e0%b9%92%e0%b9%91%e0%b9%90_0002

Related posts