“มกอช.”รุกประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรภายใต้สัญลักษณ์ Q กระตุ้นให้เกษตรกร-ผู้ประกอบการเห็นความสำคัญในการผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรคุณภาพปลอดภัย ชี้ตรารับรอง Q – Mark เป็นใบเบิกทางสำคัญในการเจรจาต่อรองทางการค้า เพิ่มโอกาสและช่วยขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรคุณภาพทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ
นางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของสินค้าเกษตรปลอดภัย มกอช.ได้เร่งขับเคลื่อนโครงการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้สินค้าเกษตรมาตรฐานและเครื่องหมายตราสัญลักษณ์ Q หรือ Q – Mark ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างกว้างขวงมากขึ้น รวมทั้งได้ขอความร่วมมือกับทางภาคเอกชน ผู้ประกอบการค้าประเภท Modern trade เช่น ท็อปส์ บิ๊กซี เดอะมอลล์ แม็คโครรวมถึงตลาดสดต่าง ๆ ผ่านทางสมาคมตลาดสด ฯลฯ เพื่อให้ช่วยกันสนับสนุนส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรและอาหารที่มีเครื่องหมาย Q โดยเปิดให้มีมุมจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมาย Q ซึ่งนับว่าเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับสินค้าดีมีคุณภาพให้มากยิ่งขึ้นและผู้บริโภคก็สามารถเลือกหาซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ความปลอดภัยและมีมาตรฐานได้มากขึ้นและง่ายขึ้น
นางสาวจูอะดี กล่าวด้วยว่า เครื่องหมาย Q คือ เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นควรให้มีการใช้เครื่องหมายรับรองให้เป็นเอกลักษณ์เดียว เพื่อรณรงค์และส่งเสริมให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย รวมทั้งให้เกิดความชัดเจนในกระบวนการผลิต โดยการตรวจสอบรับรองแก่เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และกระตุ้นเตือนใช้รับรองกับสินค้าพืช ปศุสัตว์ และประมง ตลอดกระบวนการ From Farm to Table เพื่อแสดงถึงคุณภาพและความปลอดภัย เพื่อให้สินค้าเกษตรและอาหารของไทย สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีศักยภาพ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกเป็นเครื่องหมายรับรองสินค้า ส่วนประเภทที่ 2 เป็นเครื่องหมายรับรองระบบ ซึ่งขณะนี้มกอช.จะเร่งประชาสัมพันธ์ุเครื่องหมายดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
นางสาวจูอะดี ยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตรด้วยว่า ขณะนี้มกอช.ได้ประกาศมาตรฐานบังคับปัจจุบันแล้วจำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ 1.หลักปฏิบัติสาหรับกระบวนการรมผลไม้สดด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2.เมล็ดถั่วลิสง: ข้อกำหนดปริมาอะฟลาทอกซิน 3.การปฏิบัติที่ดีสาหรับการผลิตทุเรียนแช่เยือกแข็ง 4.การปฏิบัติที่ดีสาหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ 5.การปฏิบัติที่ดีสาหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ และ 6.การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้าที่ดีสาหรับฟาร์มผลิตลูกกุ้งขาวแวนนาไมปลอดโรค ส่วนมาตรฐานทั่วไปได้ประกาศใช้แล้ว 322 เรื่อง ได้แก่ มาตรฐานสินค้า 117 เรื่อง มาตรฐานระบบการผลิต 158 เรื่องและมาตรฐานข้อมูลกำหนดทั่วไป 47 เรื่อง
นางสาวจูอะดี ยังได้กล่าวด้วยว่า เกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่ประสงค์จะขอเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรภายใต้สัญลักษณ์ Q สามารถยื่นขอได้ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนจำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตรกรมการข้ากรมหม่อนไหม สำนักงานการปฏิบัติรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.)และภาคเอกชนอีก 10 แห่งคือ บริษัทโกลบอล เซอร์ติฟิเคชั่น เซอร์วิส จากัด สำนักรับรองระบบคุณภาพ(สรร.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) สถาบันรับรองระบบการผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ บริษัท ไทย จี เอ พี 09 จากัด บริษัทเอเจเอ รีจีสตร้าส์ จากัด บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ทูฟ นอร์ด(ประเทศไทย) จากัด บริษัท วูฟแกงค์ พล์าท (ประเทศไทย) จากัด บริษัท อินเตอร์เทค อินดัสทรี แอนด์ เซอร์ทิฟิเคชั่น เซอร์วิสเซส(ประเทศไทย) จากัด และบริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จากัด
สำหรับประโยชน์ของผู้ที่ได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร ในกรณีเป็นผู้ผลิตจะได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายในการแสดงและใช้เครื่องหมายรับรองนำไปใช้ประโยชน์ในการเจรจาต่อรองทางการค้ารวมทั้งนำไปใช้ประโยชน์ในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์เผยแพร่เพื่อแนะนาสินค้าที่ผลิตตามมาตรฐาน เพิ่มโอกาสและช่องทางการจาหน่ายสินค้าเกษตร และเพื่อให้ได้สินค้าที่มีมาตรฐานคุณภาพและปลอดภัย ตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ
ส่วนผู้ประกอบจำหน่าย สามารถใช้ประโยชน์ในการแนะนำ เผยแพร่การจำหน่ายสินค้าที่ได้รับการรับรองและแสดงเครื่องหมายรับรอง สามารถตอบสนองแหล่งที่มา ของสินค้าทั้งในกรณีปกติ และ/หรือ กรณีพบว่าสินค้ามีปัญหาส่วนผู้บริโภค มีทางเลือกเพิ่มมากขึ้นในการซื้อสินค้าที่มีมาตรฐาน คุณภาพและความปลอดภัยภายใต้เครื่องหมายรับรอง และสามารถตามสอบแหล่งที่มาของสินค้าทั้งในกรณีปกติ และ/หรือ กรณีพบว่าสินค้ามีปัญหา