องค์การบริหารพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อพท.โดยมี ดร.สมจินต์ ชาญกระบี่ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 7 จับมือกับคุณวรางคณา สุเมธวัน ประธานชมรมสื่อมวลชนส่งเสริมการท่องเที่ยว ชสท.นำสื่อมวลชนและสมาชิกเดินทางเข้าพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อสนับสนุนโครงการที่จะสร้างเมืองสุพรรณบุรี ถึงความเตรียมในการเป็นเมืองดนตรีอย่างไรบ้าง เพราะสุพรรณบุรีน่าจะเป็นจังหวัดเดียวที่มีปูชนียบุคคลด้านดนตรีระดับสุดยอด ร่วมยุค ร่วมสมัย ถึง 5 สายธาร คือ เบญจภาคีดนตรีสุพรรณ ได้แก่เพลงไทยเดิม เพลงพื้นบ้าน เพลงลูกทุ่ง เพลงเพื่อชีวิต และเพลงสตริง ซึ่งศิลปินทุกท่านยังคงมีกิจกรรมทางด้านดนตรีและผลงานเพลงอย่างต่อเนื่อง ยกเว้น ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของสื่อมวลชนอย่างเราที่จะช่วยกันเผยแพร่ ผลักดัน ผนึกภาคี ให้ผลงานเหล่านั้นผ่านไปสู่การรับรู้เพื่อการยอมรับของกลุ่มสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรีจากยูเนสโก้ เพื่อที่จะยกระดับเมืองสุพรรณสู่สากล
จุดนัดพบเช้าตรู่ที่อาคารทิปโก้ ถนนพระราม 6 ที่ทำการของ อพท.เมื่อความพร้อมล้อหมุนในช่วงเช้าออกเดินทางสู่จังหวัดสุพรรณบุรี จุดแรกจะไปกราบหลวงพ่อโตที่วัดป่าเลไลยก์ วัดเก่าแก่คู่เมืองสุพรรณบุรี มีสิ่งปลูกสร้างหลายอย่างเป็นที่สักการะของคนทั่วไป ภายในวัดยังมีรูปปั้นราชาเพลงลูกทุ่งสุรพล สมบัติเจริญ และ สายัณห์ สัญญา ยังมี คุ้มขุนช้าง อยู่ภายในวัด และที่น่าทึ่งอีกอย่างหนึ่งคือศาลาครอบวิหารหลวงพ่อโต ยังมีจิตรกรรมฝาผนัง เป็นเรื่องราวของขุนช้าง ขุนแผน เขียนมาจากวรรณคดีที่โด่งดังของชาวเมืองสุพรรณบุรีที่ผูกพันกันมาอย่างยาวนาน จนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน
หลังจากที่ได้ชื่นชมจิตรกรรมฝาผนังแล้ว พวกเราเดินทางไปยังบ้าน “ครูจิราภรณ์” เรือจ้างที่ใช้ใจในการสร้างลูกศิษย์ที่สนใจในการเรียนดนตรีไทยมาอย่างยาวนาน บนบ้านทรงไทยแบบสุพรรณบุรีอันสวยงาม ขึ้นไปเยี่ยมชมถึงการแสดงดนตรีไทยระดับครูบาอาจารย์ต้อนรับสื่อมวลชนจากส่วนกลางเดินทางมาเก็ลรายละเอียดเพื่อเผยแพร่กิจกรรมในด้านศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อให้องค์การยูเนสโกได้มองเห็นคุณค่าของเมืองศิลปะการแสดงดนตรีไทยเต็มรูปแบบเบญจภาคี ซึ่งทาง อพท.มีส่วนส่งเสริมสนับสนุนงานนี้คุณตุ๊ก ฝ่ายประชาสัมพันธ์นำทีมงานเทคแคร์อย่างดีเสร็จจากตรงนี้ เราไปทานอาหารแสนอร่อยเคล้าการแสดงดนตรีไทยที่ร้านเพลย์กราวด์ ก่อนที่จะดำเนินงสนต่อในช่วงบ่ายกับความมหัศจรรย์แห่งสุพรรณบุรี.