เซี่ยเหมิน นำทีมผู้ประกอบการธุรกิจสิ่งพิมพ์จากจีน 56 ราย และนำผลงานกว่า 2,600 รายการ เข้าร่วมจัดแสดง พร้อมจำหน่ายลิขสิทธิ์ผ่านนิทรรศการสื่อสิ่งพิมพ์จีนสัญจรฯ ในงาน มหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 25 ถือเป็นกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาคอาเซียน จัดขึ้นวันที่ 30 กันยายน ถึง 11 ตุลาคม 2563 เวลา 10.00 – 21.00 น. ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการจากจีนและนานาประเทศในกลุ่มอาเซียนได้เจรจาธุรกิจพร้อมจับคู่ทันทีแบบข้ามประเทศ หวังกระตุ้นธุรกิจสิ่งพิมพ์ของภูมิภาคในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยมีนายอนุรักษ์ กิจไพบูลทวี ผู้แทน บริษัท เซี่ย เหมิน อินเตอร์เนชั่นแนล บุ๊ก จำกัด (Xiamen International Book Company Limited) ประจำประเทศไทย และอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) ถือโอกาสเป็นล่ามในการสัมภาษณ์ผู้บริหารเซี่ยเหมินผ่านวีดีโอคอลว่า…
“ครั้งนี้เป็นลักษณะงานที่ชื่อว่านิทรรศการสื่อสิ่งพิมพ์จีนสัญจร เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 4 (Chinese Publication Exhibition Tour in Southeast Asia) ปกติเขาจะเดินทางมาทุกปี ปีนี้เป็นปีที่ 4 ครั้งนี้ไม่ได้มาก็ยกทัพกันมาจับคู่ทางธุรกิจระหว่างไทยกับจีน มีทั้งซื้อทั้งขาย เขามาขาย สนพ.ที่มาร่วมซื้อนำหนังสือไทยมานำเสนอเขาได้เหมือนกัน ก็จะมีการซื้อขายทุกปี ปีนี้จะติดเรื่องของโควิด เรื่องนิวนอร์มอลต่าง ๆ นา ๆ ทำให้รูปแบบของการจัดงานเป็นส่งหนังสือจริงมา และมีการจับคู่กันแบบออนไลน์ เขาให้ความสำคัญกับงานนี้ของประเทศไทยมาตลอดครับ
จากที่ถามว่าเกิดโควิดร้านหนังสือจีนได้รับผลกระทบไหม ในรูปแบบร้านหนังสือได้รับผลกระทบแต่การซื้อขายออนไลน์กลับไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลยยังคงดำเนินได้ตามปกติ ทำให้ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ปกติของตลาดหนังสือในจีน ยอดออนไลน์มันจะแบ่งเป็นสองช่วงครับ ช่วงโควิดหนัก ๆ ก่อนเดือนพฤษภาคมจะมีผลกระทบกันหมด แต่พอหลังพฤษภาคมปลดล็อกแล้ว ทั้งหนังสือเล่ม หนังสือออนไลน์กลับมาคึกคักเหมือนเดิม แล้วหลังโควิดพฤติกรรมการอ่านของคน ต้องบอกว่าหนังสือได้รับผลกระทบน้อยกว่าอุตสาหกรรมอื่น เพราะดูจากอัตราการขายอีบุ๊กเพิ่มขึ้น ประเทศจีนมีปริมาณหนังสือที่เยอะมาก หนังสือใหม่ต่อปีออกปกมากกว่าสี่แสนปก หนังสือที่ได้รับความนิยมจะเป็นประเภท best seller ซึ่งจะได้รับความนิยมทั้งออนไลน์และหนังสือเล่ม อีกส่วนหนึ่งที่ได้รับความนิยมก็หนังสือของคนดัง คนดังทางวัฒนธรรมหรือคนดังด้านต่าง ๆ จะได้รับความนิยมสูง ดูจากยอดตัวเลขเทียบระหว่างปี 2018 กับตัวเลข 2019 ยอดหนังสือทั้งประเทศตัวเลขที่เขาได้คือ หนึ่งแสนล้านหยวน (คูณ 4 บาท) เป็นยอดหนังสือจริงสามหมื่นล้าน ซื้อผ่านออนไลน์คือ เจ็ดหมื่นหนึ่งพันห้าร้อยล้าน ฉะนั้น สัดส่วน 7 ต่อ 3 ซื้อจากออนไลน์ 70% ซื้อจากหนังสือจริง 30% แต่ยังไม่มีตัวเลขของอีบุ๊กครับ ถือว่าธุรกิจหนังสือเติบโตจากตัวเลข 14 % ส่วนตัวเลขในปี 2020 เขายังไม่มีตัวเลขแต่คาดว่าธุรกิจถ้าเทียบกับปีก่อนน่าจะเติบโตกับธุรกิจตลาดหนังสือจีน
จากที่มาจับคู่กันในงานนี้หลายครั้งหนังสือไทยที่ได้รับความนิยมนำไปขายที่ประเทศจีน คือหนังสือแนวท่องเที่ยว แนวอาหารไทย กลุ่มนี้เป็นหนังสือที่มีตลาดที่จีน และหนังสือพระอาจารย์ของไทยก็พอมีตลาดบ้าง (คุณอนุรักษ์เสริมจากที่ไปจีน) แต่นิยายมีส่งไปน้อย เพราะเป็นเรื่องของกำแพงภาษานิดนึง อีกทั้งหนังสือที่มีภาพเยอะก็จะมีแนวโน้มในการซื้อขายง่ายขึ้นด้วย จากที่เขากลับมาครั้งนี้ครั้งที่ 4 มีส่วนช่วยในการกลับไปอุตสาหกรรมของเขา แต่ตัวเลขแสนล้านเป็นสัดส่วนที่ไม่ได้เยอะมากนัก แต่มีส่วนที่เขาพึงพอใจ จึงมางานนี้ซ้ำอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่นในปีแรก คุณอนุรักษ์เล่าว่าจากที่ผมได้ติดตามเขามาปีที่สองปีที่สาม สนพ.ที่มา 30 กว่าเจ้าก็เพิ่มเป็น 40 กว่า และในปีนี้เพิ่มเป็น 50-60 สำนักพิมพ์ ที่ส่งหนังสือมาสองพันกว่าปก กับหนังสือพันกว่ารายการ เขาก็เชื่อว่าในการซื้อขายลิขสิทธิ์รวมถึงไม่ได้ตั้งราคาไว้สูง สุดท้ายก็จะย้อนไปช่วยอุตสาหกรรมเขาได้อย่างแน่นอน เขาได้ให้ความสำคัญกับตลาดไทย โดยเฉพาะตลาดอาเซียนก็เป็นหนึ่งในตลาดที่มีศักยภาพสูง และส่วนของเขาปีนี้ได้นำหนังสือกลุ่มเด็ก ๆ นิทานภาพ เป็นหนังสือที่มีแนวโน้มขายได้เยอะกว่า และของเขาทำเนื้อหาค่อนข้างอินเตอร์ ไม่ว่าจะเรื่องเนื้อหา เรื่องของฝีมือในการวาด เทคนิคต่าง ๆ นอกจากนั้นก็มีหนังสือเรื่องของวัฒนธรรม เรื่องของเทคโนโลยี พวกสังคมและหนังสือประวัติศาสตร์ก็มาค่อนข้างเยอะ อะไรที่เป็นพระเอก ๆ ของสำนักพิมพ์ก็นำมาในงานนี้ด้วย ซึ่งเป็นหนังสือใหม่ เพราะอย่างที่บอกเราออกปีละสี่แสนปก ที่พิเศษหน่อยก็หนังสือเกี่ยวกับโควิด ในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งเรื่องวิถีใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศจีน แม้แต่หนังสือโควิดสำหรับเด็กเรื่องการป้องกัน เป็นหนังสือใหม่ที่ส่งมาครั้งแรก เขาคาดหวังว่าจะขายได้ครับ รวมถึงการจัดแสดงพร้อมจำหน่ายหนังสือเรื่อง “สีจิ้นผิง ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ” เล่ม 1 มีการแปลเป็นภาษาไทยโดยสำนักพิมพ์ มติชน แล้วจีนก็ยังออกต่อเนื่องเล่ม 2 และเมื่อกลางปีที่ผ่านมาออกเล่มที่ 3 ตอนนี้มีภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาไทยก็คาดหวังว่าสำนักพิมพ์จะทำเล่ม 2 และเล่ม 3 ต่อไป
สุดท้ายถามถึงความคาดหวังในการกลับมางานนี้ เขาบอกว่าความคาดหวังคือการได้แลกเปลี่ยนกัน เขาลงทุนมาเขาเอาของมาแลกกับเรา ให้เราได้เห็นสิ่งที่เขามีหรือมองเห็นว่าตลาดเขาคืออะไร ก็อยากได้กลับไปด้วยสิ่งที่เป็นงานไทย ๆ เขาคาดหวังจะได้สิ่งเหล่านี้กลับไป ทำให้รู้จักซึ่งกันและกัน ในเรื่องหลัก ๆ เขาอยากได้เนื้อหา ในอนาคตเขาส่งมาเราส่งไปโดยผ่านกิจกรรมนี้ ที่สำนักพิมพ์ให้ความสนใจตลาดเขาผ่านกิจกรรม ให้รู้จักซึ่งกันและกัน”
นักอ่านสามารถหาซื้อหนังสือใหม่ได้ที่บูธ X01 และ S05 จะได้พบหนังสือออกใหม่ของจีนที่ขนมาให้อ่านพร้อมกันกับประเทศเขาในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 25 ไปซื้อกันเยอะ ๆ น้า