เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 เวลา 09.00 น. นายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการ และแรงงานนอกระบบพื้นที่กรุงเทพมหานคร
โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน อดีตรอง ผบ.ตร. ในฐานะที่ปรึกษาสำนักงาน ป.ป.ส., ผู้แทนหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องจากกระทรวงแรงงาน, สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร, สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), กรมการขนส่งทางบก กองบัญชาการตำรวจนครบาล, ดร.พีรวัฒน์ สุรเศรษฐ ประธาน กต.ตร.กทม.(ภาคประชาชน)-สน.ชนะสงคราม, กลุ่มบริษัทขนส่ง รวมไปถึง ไรเดอร์ (Rider) ผู้ส่งสินค้า/พัสดุผ่านแอปออนไลน์, บริษัท ไลน์แมนวงใน จำกัด, สมาคมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างแห่งประเทศไทย และภาคประชาสังคม อาทิ เครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินกรุงเทพมหานคร มูลนิธิรักษ์ไทย กลุ่มส่งเสริมการเข้าถึงการสนับสนุนด้านสุขภาพและสังคม รวมทั้งสิ้น 250 คน โดยกำหนดจัดประชุม 2 วัน ในวันที่ 21 และ 22 ธันวาคม 2564 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ
นายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการ (ป.ป.ส.) กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เกิดขึ้นจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่กันในทุกมาตรการ รวมทั้งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำให้มีการควบคุม สอดส่อง และตรวจตราสถานประกอบการต่าง ๆ ไม่ให้มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด ส่งเสริมสถานประกอบการให้โอกาสแก่แรงงานที่ไปใช้ยาเสพติดได้เข้าสู่การบำบัดรักษาฯ และให้โอกาสผู้ผ่านการบำบัดฯ เข้าทำงานในสถานประกอบการ และขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกัน ในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มพนักงาน ผู้ใช้แรงงานอย่างเต็มที่ รวมถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มแรงงานนอกระบบ หรือแรงงานอิสระ ซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานขนาดใหญ่ สำหรับในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่มีกลุ่มแรงงานนอกระบบ ประเภทผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง รับส่งอาหาร พัสดุ หรือไรเดอร์ จำนวนประมาณ 100,000 – 200,000 ราย
ปัจจุบันการซื้อขายยาเสพติดพบบ่อยครั้งที่ผ่านช่องทางออนไลน์ ขนส่งผ่านพัสดุ และส่งยาเสพติดผ่านกลุ่มแรงงานนอกระบบ อาทิ รถจักรยานยนต์รับจ้าง พนักงานขนส่งอาหารและพัสดุ (Rider) ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาครัฐต้องเฝ้าระวัง การให้ความรู้เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของการส่งยาเสพติด เช่น สร้างความเข้าใจในกฎหมายข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติตามระเบียบหลักเกณฑ์ก่อนนำส่งพัสดุทุกชิ้น ทักษะการสังเกตพัสดุน่าสงสัยว่าอาจเป็นยาเสพติด รวมถึงการร่วมเป็นหูเป็นตาแจ้งเบาะแสต่อเจ้าหน้าที่ เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งในการประชุมครั้งนี้ ทั้งนี้ ตามนโยบายของ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่ให้ความสำคัญกับการแจ้งเบาะแสยาเสพติดของประชาชน เพราะนำไปสู่การได้รางวัลนำจับ กรณีสามารถจับกุมและยึดทรัพย์ผู้กระทำผิดได้อีกด้วย
อีกทั้งยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน การสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหายาเสพติดแล้ว เรายังมีจุดประสงค์เพื่อฟังเสียงสะท้อนปัญหาจากผู้ประกอบการ แรงงาน บริษัทขนส่ง วินมอเตอร์ไซค์ และ ไรเดอร์ (Rider) ผู้ส่งสินค้า/พัสดุผ่านแอปออนไลน์อีกด้วย ซึ่งเสียงสะท้อนปัญหาที่ได้รับจะเป็นประโยชน์ในการกำหนดแนวทางการป้องกันการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด รวมถึงเพื่อความปลอดภัยและลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เข้าไปใช้ยาเสพติดในกลุ่มแรงงานและสถานประกอบการ ซึ่งภาครัฐต้องเฝ้าระวัง การให้ความรู้เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของการส่งยาเสพติด เช่น สร้างความเข้าใจในกฎหมายข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติตามระเบียบหลักเกณฑ์ก่อนนำส่งพัสดุทุกชิ้น ทักษะการสังเกตพัสดุน่าสงสัยว่าอาจเป็นยาเสพติด รวมถึงการร่วมเป็นหูเป็นตาแจ้งเบาะแสต่อเจ้าหน้าที่ เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งในการประชุมครั้งนี้
นอกจากการสร้างภูมิคุ้มกัน การสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหายาเสพติดแล้ว เรายังมีจุดประสงค์เพื่อฟังเสียงสะท้อนจาก ผู้ประกอบการ แรงงาน บริษัทขนส่ง วินมอเตอร์ไซค์ และ ไรเดอร์ผู้ส่งสินค้า-พัสดุ ผ่านแอปออนไลน์ด้วย ซึ่งเสียงสะท้อนที่ได้รับจะเป็นประโยชน์ในการกำหนดแนวทางการป้องกันการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด รวมถึงเพื่อความปลอดภัยและลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เข้าไปใช้ยาเสพติดในกลุ่มแรงงานและสถานประกอบการ
สมชาย/อ๊อด…รายงาน