กรุงเทพมหานคร 19 เมษายน 2566 : จากการเปิดข้อมูล ปี 2564 คนกรุงเทพฯ ‘สูดฝุ่นพิษ PM2.5 เท่ากับ ‘การสูบบุหรี่’ 1,261 มวน ซึ่งถือว่าได้ก้าวเข้าสู่สภาวะวิกฤติขั้นรุนแรง และเพราะเหตุผลนี้ ทำให้ ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (ดร.เอ้)นักวิศวกร นักวิชาการ และนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รวมทั้งเป็นประธานคณะทำงานนโยบาย กทม. พรรคประชาธิปัตย์ จับมือ นางสาวอรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ ลงพื้นลุยตรวจค่าฝุ่น PM2.5 ที่ย่านบริเวณสวนสันติภาพ ซ.รางน้ำ จุดที่มีทั้งสวนสาธารณะ โรงเรียน และ รพ. หลายแห่ง สุดอึ้ง!! เมื่อตรวจพบค่าฝุ่นยังสุดวิกฤติ พร้อมประกาศตอกย้ำนโยบายการผลักดัน “กฎหมายอากาศสะอาด” ที่ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ในการสูดอากาศบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของนโยบาย “ประกาศสงครามกับฝุ่น PM 2.5” เพราะเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไข โดยข้อมูลในปัจจุบัน ความเข้มข้น PM2.5 ในกรุงเทพมหานครขณะนี้เป็น 12.2 เท่าของค่าแนวทางคุณภาพอากาศประจำปีขององค์การอนามัยโลก และนี่เองที่ทำให้ ดร.เอ้ สุดทน ประกาศย้ำพร้อมเร่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 3 ข้อ
1. การให้ประชาชนทุกคนต้องมีสิทธิรับรู้ข้อมูลและอันตรายของมลพิษทางอากาศอย่างเท่าเทียม “รัฐรู้เท่าไหร่ ประชาชนต้องรู้เท่านั้น” ต้องแสดงปริมาณฝุ่นให้ประชาชนได้รับรู้
2. “กฎหมายอากาศสะอาด” หรือ “Clean Air Act” โดยตัวกฎหมายจะมาจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาควิชาการ และภาคการเมือง โดยยึดหลักมาตรฐานสากล
3. ให้กำหนดเขตมลพิษต่ำ “Bangkok Low Emission Zone” หรือ “B-LEZ” (บีเลส) นำร่อง 16 เขตกรุงเทพชั้นใน ซึ่ง ดร.เอ้ ย้ำว่าเขตสาทร-ปทุมวัน-ราชเทวี ก็จะอยู่ในพื้นที่กำหนดเขตมลพิษต่ำด้วย เนื่องจากพื้นที่นี้มีทั้งที่อยู่อาศัย โรงพยาบาล โรงเรียน และสวนสาธารณะ จึงต้องร่วมกันแก้ปัญหามลพิษที่เราต้องเจอทุกวันนี้ เพื่อทำให้สามารถกลับมาสูดอากาศที่สะอาดบริสุทธิ์และเดินออกกำลังกายในพื้นที่สวนสาธารณะได้อย่างสบายกาย สบายใจ ไม่มีอันตราย
นอกจากนี้ ดร.เอ้ ซึ่งในอดีตเคยเป็นผู้บริหารสถานศึกษาชั้นนำ ได้ย้ำว่าอยากผลักดันนโยบาย “อินเทอร์เน็ตฟรี 1 ล้านจุด ทุกหมู่บ้าน ทุกห้องเรียน” ที่จะครอบคลุมพื้นที่ชุมชนของกรุงเทพมหานคร รวมถึงห้องเรียนทั่วประเทศครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด โดยจะสร้างประโยชน์ให้ประชาชน มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การลดภาระค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงบริการอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานต่าง ๆ ช่วยพัฒนาความรู้สนับสนุนให้เกิดการใช้เทคโนโลยีมาประกอบอาชีพสร้างงานและรายได้ช่วยอำนวยความ สะดวกให้นักท่องเที่ยวที่ สนับสนุนการเรียนรู้ทุกวัยสร้างโอกาสให้ประชาชนในการเข้าถึงเทคโนโลยี และที่สำคัญประชาชนจะได้เข้าถึงการสื่อสารเรื่องมลพิษทางอากาศได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง จุดใดเสี่ยงสูง จุดใดควรหลีกเลี่ยง เพื่อให้ประชาชนได้ป้องกันได้อย่างทันเวลา เพราะ PM2.5 ไม่ใช่มาเพียงแค่ความรำคาญ หากแต่กลับเป็นภัยร้ายที่ทำให้เกิดได้ทั้ง มะเร็งปอด หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ ที่คร่าชีวิตคนไทยได้ทุกเมื่อ